คาถานกแซงแซว (ฆเฏสิ)

กำเนิดคาถานกแซงแซว

คาถานกแซงแซว
คาถา
: ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึงการณํ ฆเฏสิ อหํ ปิตํ ชานามิ ชานามิฯ
คำอ่าน: ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กึงการะณัง ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ
คำแปล: เจ้าพยายามไปเถิด เจ้าพยายามไปเถิด เจ้าพยายามทำเพื่ออะไร, เจ้าพยายามทำอะไรอยู่ เรารู้นะ เรารู้นะ,
อุปเท่ห์
: สิทธิการิยะ บรูพาบุราณครูบาอาจารย์เจ้าท่านกล่าวไว้ว่าคาถานี้มีมาแต่สำนักตักศิลาโดยอาจารย์ทิศาปราโมทย์อนุเคราะห์ให้แก่จุฬกะมาณพ และคล้ายคลึงกับตำนานคาถานกแซงแซวของชาวล้านาที่พระอินทร์จำแลงเป็นนกแซงแซวเพื่อมาช่วยคุ้มครองพวกเด็กจากคนใจไม้ไส้ระกำ คาถาใช้ทางป้องกันภัย โจรภัย ป้องกันขโมยขึ้นบ้าน ป้องกันอันตรายจากของมีคม แคล้วคลาดจาดศาสตราอาวุธของมีคมทั้งปวง แลจักใช้ได้ทุกครั้งที่ระลึกได้ พร่ำบ่นสาธยายร่ายมนต์บทนี้อยู่เป็นนิจเถิด



ตำนานคาถานกแซงแซว จากชาวล้านนา
            กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีลำธารน้ำใสไหลเย็น เด็กๆมักจะพากันมาลงเล่นน้ำ ส่งเสียงเอะอะโว้ยว้ายเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน ในวันนั้นเองหลังจากที่เด็กๆเลี้ยงควายเสร็จจึงพากันมาเล่นน้ำตามปกติ ณ ลำธารแห่งนั้นก็มีชายหนุ่มปลูกเรือนไว้ริมน้ำ และขณะนั้นชายหนุ่มหาปลาอยู่ปลายน้ำ ทอดแหยังไงก็ไม่ได้ปลา ด้วยว่าเสียงดังสนั่นของเด็กๆที่มาเล่นน้ำอยู่เป็นประจำ ชายหนุ่มหาปลาก็ทราบว่าเด็กมาเล่นน้ำอีกแล้ว ซึ่งปกติก็สร้างความรำคาญมากแล้ว เด็กกระโดลงน้ำทำให้ปลาแตกตื่นตกใจหนีไปเสียหมด จึงเกิดความคับแค้นใจกับเด็กๆพวกนั้น
            ในวันต่อมา ชายหนุ่มหาวิธีแก้แค้นพวกเด็กๆที่มาเล่นน้ำ ชายหนุ่มรู้แล้วว่าเด็กจะพากันมาเล่นน้ำอยู่บริเวณนั้นประจำ จึงได้คิดวางแผนทำร้ายพวกเด็ก ชายหนุ่มเห็นดังนั้นจึงตัดไม้ไผ่แล้วเหลาไม้ไผ่ให้แหลมคม นำไม้แหลมไปหักไว้ใต้น้ำ โดยหันปลายแหลมขึ้น ชายหนุ่มวางกับดักนี้หวังจะทำร้ายพวกเด็กๆ เมื่อเด็กลงเล่นน้ำ กระโดดลงไปโดนไม้ไผ่แหลมแทงตาย
             ครั้งเมื่อพวกเด็กกลับจากการเลี้ยงควาย เห็นลำธารน้ำใสก็อยากกระโดดลงเล่นน้ำ ตอนนั้นเองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บัลลังก์แท่นรัตนกำพลศิลาอาส์นของพระอินทร์ก็รุมร้อนดุจเอาไฟมาอังใต้แท่น บัลลังก์ที่แสนนุ่มนวลกลับกลายเป็นแข็งทื่อ พระอินทร์จึงเกิดความสงสัยเล็งมองมายังโลกมนุษย์ เห็นชายหนุ่มวางแผนฆ่าพวกเด็กๆโดยเอาไม้ไผ่แหลมปักไว้ใต้น้ำ แล้วพวกเด็กๆก็กำลังจะกระโดลงลำธารที่ชายหนุ่มวางกับดักไว้ท่านั้น พระอินทร์จึงลงมาช่วยเด็กๆ โดยจำแลงแปลงกายลงมาเป็นนกแซงแซวตัวใหญ่มหึมาสีดำมีเงางาม ตาแดงแก่ดั่งโกเมน หางเรียวยาวเป็นแฉกแหวกลาดพาดลงมาเกาะอยู่บนกิ่งยอดไม้

            เด็กๆที่ยืนอยู่ที่ตลิ่งน้ำกำลังจะกระโดเห็นนกแซงแซวตัวใหญ่มาเกาะ จึงแลมองนกแซงแซวตัวนี้ส่งเสียงร้องอย่างฉงน เพราะเสียงนกแซงแซวตัวนี้ร้องว่า “
ติงติงสรณายะกันติง” ด้วยความแปลกประหลาดเด็กจึงท่องตามเสียงนกนั้น ด้วยความคึกคะนอง “ติงติงสรณายะกันติง” หลักจากตกตะลึงตันจากเสียงร้องของนกแซงแซวแล้ว เด็กๆก็กระโดดลงเล่นน้ำ ตูมตามโครมครามกันอย่างสนุกสนาน เย็นสบายส่งเสียงแจ้วจ้าวอย่างรื่นเริงเหมือนทุกๆครั้ง เด็กที่กระโดลงมถูกโดนกระทบแหลมคมของไม้ไผ่ก็กลับกลายเป็นทู่ เลือดสักหยดก็ไม่มี แผลถลอกสักนิดก็ไม่เห็น พวกเขานั้นก็รู้สึกถึงว่ามีตอไม่อยู่ใต้น้ำ ดำลงไปดูก็เห็นตอไม้ไผ่ปลักอยู่เต็ม แต่พวกเขาก็ไม่เป็นอะไรเลย เมื่อพวกเด็กเล่นน้ำกันเสร็จแล้ว พวกเด็กๆเลิกรากันกลับบ้าน
            ชายหนุ่มที่วางกับดัก เห็นพวกเด็กไม้เป็นอะไร ไร้ซึ่งรอยขี่ขวนใดๆ  จึงไปดูที่ลำธารตรงจุดที่ตนวางกับดักไว้ ซึ่งมีรอยเท้าและล่องรอยการลงเล่นน้ำของพวกเด็กๆเหลือไว้ แต่ลิ่มไม้ไผ่แหลมที่ปลักไว้ใต้น้ำกลับลอยฟูฟ้อนที่จมอยู่ก็ล้มระเนระนาดไปหมดเหนือลำธารและปลายแหลมของลิ่มไม้ไผ่ที่แหลมคมกลับทู่ไปเสียหมด
            พวกเด็กที่รอดตายมาได้นั้นก็นึกขึ้นได้ว่ามีนกแซงแซวมาร้องเสียงแปลกประหลาดราวกับท่องมนต์ร่ายมนต์คาถาให้ฟังว่า “ติงติงสรณายะกันติง” จึงจดจำคาถานี้ไว้แล้วรู้จักกันแพร่กลายกันในนามคาถานกแซงแซวนั่นเอง
            ต่อมาผู้รู้คาถาเห็นว่าคาถานี้ดีนัก มีคุณอันวิเศษ พระอินทร์จำแลงลงมาเป็นนกแซงแซวเพื่อร่ายคาถาให้เด็กฟัง เพื่อคุ้มครองป้องกันให้พวกเขาปลอดภัยจากภยันอันตราย ศาสตราอาวุธของมีคม และจากคนใจมารใจร้ายไส้ระกำ  จึงผูกสำนวนคาถานี้ว่า “
ติงติงสรณายะกันติง” และสำนวนเต็มคาถานี้ว่า ฆเฏสิ ฆเฏสิ กิ๋งการะนัง ฆเฏสิ อะหังปิตั๋ง จานามิ จานามิ แล้วจึงเล่าขานสืบต่อกันมาดังประการฉะนี้แลฯ

คาถาฆเฏสิจากจุฬปถกชาดก
ณ กรุงพาราณสี มีมาณพชื่อว่าจุฬกะ จุฬกะมาณพได้เดินทางมายังกรุงตักศิลา สำนักตักศิลาเพื่อศึกษาวิทยาจากอาจารย์ทิศาปราโมทย์ อาจารย์ของมาณพก็เห็นว่าจุฬกะมาณพคนนี้มีปัญญาทึบมาก แต่ขยันขันแข็งปรนนิบัติอาจารย์เป็นอย่างดีไม่ขาดตกบกพร่อง แต่วิชาการอื่นๆกับไม่เอาไหนไม่ได้เรื่องแม้แต่น้อย
            เมื่อเวลาผ่านไปครบกำหนดที่มาณพจะกลับบ้าน แต่จุฬะมาณพไม่ได้ศิลปวิทยาอะไรจาจากอาจารย์ทิศาปราโมทย์เลย ได้แต่ทำงานเฝ้าดูแล ปรนนิบัติรับใช้อาจารย์เท่านั้น มาณพผู้นี้ปัญญาทึบมาก จึงเรียนรู้อะไรไม่ได้สักอย่าง อาจารย์ทราบว่าจุฬกะมาณพจะกลับบ้านแล้ว ด้วยซึ้งในน้ำใจศิษย์ที่มีให้อาจารย์ อยู่รับใช้ปรนนิบัติอยู่สม่ำเสมอ สงสารในสิติปัญญาของมาณพคนนี้ที่เขลานัก แล้วแลเห็นไปในภายาคหน้าแล้ว จึงให้มนต์แก่จุฬกะมาณพบทหนึ่ง แล้วกำชับเป็นหนักหนาว่าจำให้ได้ แล้วท่องทุกขณะที่รู้สึกตัว จุฬกะมาณพจึงรับมนต์บทนี้มาจากอาจารย์ทิศาปราโมทย์ มนต์บทนี้ความว่า
“ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึงการะณัง ฆเฏสิ อหังปิตัง ชานามิ ชานามิ”
            ครั้นจุฬกะมาณพท่องจำได้แม่นยำและมั่นสาธยายมนต์ได้คล่องแล้ว อาจารย์จึงอนุญาตให้จุฬกะมาณพกราบลาเดินทางกลับบ้านได้ ซึ่งมาณพก็ได้มนต์ติดตัวกลับบ้านมาอยู่หนึ่งบท แน่นอนว่าเขาทำตามที่อาจารย์สั่งสอนคือท่องทุกขณะที่รู้สึกตัว
            คืนวันหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะเดินทางประพาสบ้านเมืองของพระองค์ จึงปลอมพระวรกายใส่ฉลองพระองค์เยื้องสามัญชนคนธรรมดา ปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านธรรมดา แล้วเสด็จออกมาจากพระราชวัง ตรวจตราความเป็นไปของชาวบ้าน พระองค์ทรงดำเนินมาได้ระยะหนึ่ง เห็นคนน่าสงสัยทำตัวลับๆล่อๆอยู่ที่บ้านหลังหนึ่ง ด้วยพระปรีชาพระองค์ทราบทรงว่าโจรกำลังจะเข้าบ้านหลังนั้น ขณะนั้นเองจุฬกะมาณพที่นอนหลับอยู่ที่บ้านหลังนั้นก็สะดุ้งตื่นขึ้น แล้วมาณพก็นำถึงคำอาจารย์ได้ว่าให้สวดท่องมนต์ในยามที่รู้สึกตัว มาณพจึงสาธยายมนต์ออกมาออกดัง  “ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึงการะณัง ฆเฏสิ อหังปิตัง ชานามิ ชานามิ” และแล้วโจรย่องเบาได้ยินเสียงคนในบ้าน จุฬกะมาณพกำลังท่องมนต์ โจรตื่นตกใจกลัววิ่งหนีทุรนทุรายอย่างไม่คิดชีวิต พระราชาที่ปลอมตัวมาเป็นชาวบ้าน มองเห็นสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิดและได้ยินมนต์นี้ บังเกิดความอัศจรรย์ใจขึ้นว่า มนต์บทนี้ช่างมีคุณวิเศษนั้น
            พระราชาเสด็จกลับพระราชวังและจำมนต์บทนี้มาก็ทรงท่องอยู่เป็นอาจิณ ทรงสนหทัยกับมนต์บทนี้มาก รับสั่งให้ราชบุรุษไปเชิญตัวมาณพนี้เข้าวัง เพื่อจะคลายข้อสงสัยในพระหฤทัย จุฬกะมาณพก็ได้เข้าเฝ้าพระราชาเพื่อแก้ความคืบแคลงหทัยที่พระราชาทรงสงสัยในมนต์บทนี้
            เมื่อมาณพมาพบกับพระราชา พระราชาจึงตัดถามมาณพว่า “พ่อมาณพ พ่อเรียนมนต์มาจากที่ใด ใครเป็นผู้สอนมนต์บทนี้ให้” มาณพก็กราบบังคลทุลตามความเป็นจริงว่า “ข้าเรียนมาแต่สำนักตักศิลา อาจารย์ทิศาปราโมทย์เป็นผู้สอนให้” ครั้งพระราชาได้ยินเช่นนั้นจึงใคร่จะเรียนรู้มนต์บทนี้จากจุฬกะมาณพเป็นอันมาก  ทรงดำริกับมานณพว่า “พ่อ มาณพ ท่านพอจะสอนมนต์บทนี้ให้ได้หรือไม่” จุฬกะมาณพตกลงยอมสอนศิลปวิทยามนต์บทนี้ให้ พระราชาทางดีพระหทัยยิ่งนัก
            จุฬกะมาณพเชิญพระราชาลงมานั่งในที่เสมอกันเพื่อเตรียมพร้อมจะเรียนมนต์ แล้วสาธยายมนต์ว่า “ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึงการะณัง ฆเฏสิ อหังปิตัง ชานามิ ชานามิ” ถวายแก่พระราชา แล้วกำชับมาดังคำอาจารย์ทิศาปราโมทย์ให้ท่องทุกขณะที่รู้สึกตัว เมื่อพระราชาท่องจำมนต์ได้แม่นยำแล้ว จึงประทานรางวัลทรัพย์สินให้แก่จุฬกะมาณพเป็นอันมาก พร้อมสาธยายมนต์นี้อยู่มิขาด
            ต่อมาได้นาน เสนาบอดีคิดก่อการ ตั้งตนเป็นใหญ่ คิดคดทรยศ จึงตังอานิจสินจ้างแก่นายช่างกัลบก พนักงานภูษามาลาคนหนึ่งที่จะถวายปลงพระมัสสุให้พระราชา โดยให้ช่างภูษามาลาตัดที่พระศอของพระราชาในขณะที่ปลงพระมัสสุ แล้วสัญญาเป็นอานิจสินจ้างว่าถ้าปลงพระชนม์พระราชาได้ แล้วเสนาบดีได้ขึ้นเป็นพระราชาแล้ว จะตั้งให้ช่างกัลบกเป็นเสนาบดี ได้ยินเช่นนั้นช่างกัลบกจึงตกลงรับทำ
            โอกาสก็มาถึงแก่ช่างกัลบกนายภูษามาลา เมื่อพระราชาทรงดำริให้ปลงพระมัสสุ นายช่างกัลบกเห็นว่ามีดโกนทื่อจึงได้ไปรับคมมีดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อมีดจะได้คมๆตัดพระศอของพระราชาใด้สวรรคตในครั้งฉับเดียวคาที ในเวลาเดียวกันนั้นพระราชาทรงระลึกถึงมนต์ที่เรียนมาจากจุฬกะมาณพได้จึงสาธยายว่า “ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึงการะณัง ฆเฏสิ อหังปิตัง ชานามิ ชานามิ” ช่างตัดผมได้ยินเข้าถึงกับตกใจตัวสั่นเหงื่อโทรมกาย ลุกลี้ลุกลนกลัวว่าพระราชชาจะทราบถึงแผนร้ายที่ตนจะทำ พลางทิ้งมีดโกนแล้วหมอบกราบของประทานพระราชอาญาและยอมรับสารภาพว่าสมคบกับเสนาบดีและเสนาบดีวงการให้ปรงพระชนม์ชีพของพระราชา  เมื่อปรงพระชนม์ได้แล้วจะตั้งให้เป็นเสนาบดี
            พระราชาทราบความดังนั้นแล้วจึงเนรเทศเสนาบดีคนนั้น พร้อมระลึกว่ามาณพได้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ในคราวนี้ พระราชาจึงรับสั่งประทานตำแหน่งเสนาบดีนั้นให้แก่จุฬกะมาณพดำรงตำแหน่งต่อไป


จบกำเนิดคาถานกแซงแซวแต่เพียงเท่านี้

3 ความคิดเห็น:

  1. เท่าที่อ่านคาถานี้ในพระไตรปิฎก ไม่น่าจะเกี่ยวกับการกันของมีคมจากคนที่จะตัดคอพระเจ้าแผ่นดินได้ ถ้าช่างแต่งหนวดเคราคนนั้นไม่มีจิตสำนึกพอ ลองนึกถึงเหตุการณ์คนคลั่งยิงกราดและไล่ฟันคนในหลายๆที่ ถ้าเขาไม่มีจิตสำนึกถึงท่องคาถานี้คงไม่รับรู้อะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เป็นการปริวรรคคาถา หากทหารสองประเทศอยู่ในสนามรบอย่างบ้าคลั่ง จะมีสักกี่คนที่มีสติแล้วนั่งสวดมนต์ พวกเขาจะหาอาวุธและเข้าประหัตถ์ประหาญกัน ด้วยสันชาตญาณการเอาตัวรอดของผู้ล่าและผู้ถูกล่า จะมีสักกี่คนที่ระลึกด้วยสติอยู่ตลอด กล่าวได้เลยน้อยคนมากที่อยู่ในสถานการณ์นั้นจะท่องแม้บทนะโมได้ 3 จบ อุปมาเปรียบดังคนที่รู้วิธีว่ายน้ำแต่กลับว่ายน้ำไม่เป็น เมื่อเห็นคนกำลังจมน้ำก็กระโดดลงไปช่วยเพราะตนรู้วิธีว่ายน้ำ แต่ได้ได้ระลึกว่าตนว่ายน้ำไม่เป็นสุดท้ายก็จมน้ำตายเสียทั้งคู่ หาจะใช้คาถาเพื่อเจริญสติ คนที่จะท่องก็มีสติเสียก่อน และเช่นเดียวกับว่ายน้ำ รู้วิธีว่ายไม่ใช่ว่าทุกคนจะว่ายน้ำเป็นถ้าไม่เคยฝึกฝนมาเสียก่อน

      ลบ