ประคำนวหรคุณ


ประคำนวหรคุณ
ตำรานี้ ๙ มหาเวทย์ เป็นผู้รจนา และเรียบเรียง
ภาคต้น
____________________________________________________________
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
                         ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
                                    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
                                    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
                                    อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ
                                    สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
            สิทธิการิยะ คุรุบุราณครูบรูพาจารย์เจ้าท่านประสิทธิ์กลบทพระคาถานวหรคุณ ๙ ประการ กล่าวดังว่าเป็นคุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการ
            ประหนึ่งแต่ดั่งเดิมนั้น เรียกขาลกันมาถึง นวอรหาทิคุณ หรือ นวารหาทิคุณ คำว่า นว แปลว่า ๙ และคำว่า อรหาทิคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้า เมื่อสมาสจักได้คำว่า นวอรหาทิคุณ แลเมื่อสนธิจักได้คำว่า นวารหาทิคุณ ประกอบแล้วหมายรวมว่า คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น เมื่อเรียกไว้ยาวจึงมีการเลือนเสียงหายกลายมาเป็น นวหรคุณ
            โดยพิจารณาตามกลบทแล้ว จำแนกแจกแจงจากบทพระพุทธคุณ ๕๖ ดังพรรณนามาว่า
                                                “อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ
                                                วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
                                                อนุตฺตโร ปุริสฺสทมฺมสารถิ
                                                สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ”
            กลบทนี้ย่อ ๕๖ พยางค์ เหลือ ๙ พยางค์ จำเพราะว่าเป็นพระพุทธคุณ ๕๖ เป็น พุทธคุณ ๙
                                                            “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ”
พิเคราะห์โดยนัยอย่างนี้ว่า
ประการ ๑ อะ ย่อมาจาก อะระหัง หมายถึง เป็นผู้ดับเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลสโดยสิ้นเชิง
            บทนี้ใช้ด้านกันไฟทั้งปวง
ประการ ๒ สัง ย่อมาจาก สัมมาสัมพุทโธ หมายถึง เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตัวพระองค์เอง
            บทนี้ใช้เป็นตบะเดชะเสริมสร้างสง่าราศี
ประการ ๓ วิ ย่อมาจาก วิชาจะระณะสัมปันโน หมายถึง เป็นผู้พร้อมด้วยวิชาและจรณะ
            บทนี้ใช้ด้านโภคทรัพย์โชคลาภ
ประการ ๔ สุ ย่อมาจาก สุคะโต หมายถึงเป็นผู้ดำเนินไปได้ด้วยดี
            บทนี้ใช้ในด้านการเดินทาง ทั้งทางบก น้ำ อากาศ
ประการ ๕ โล ย่อมาจาก โลกะวิทู หมายถึง เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
            บทนี้ใช้ภาวะนาเมื่อเข้าป่าหรือที่มืด
ประการ ๖ ปุ ย่อมาจาก อนุตตโร ปุริสะทัมมะสารถี หมายถึง เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้ควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
            บทนี้ใช้ทางมหาอำนาจ
ประการ ๗ สะ ย่อมาจาก สัตถาเทวะมนุษานัง หมายถึง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
            บทนี้ใช้ทางเมตามหานิยม สมณะ ขุนนางเอ็นดู
ประการ ๘ พุ ย่อมาจาก พุทโธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
            บทนี้ใช้ภาวนาอารมณ์ ทำให้ไม่ตกต่ำอับจน
ประการ ๙ ภะ ย่อมาจาก ภะคะวา ติ หมายถึง เป็นผู้จำเริญ จำแนก ธรรม สั่งสอนสัตว์ดังนี้
            บทนี้ใช้ในทางป้องกันภยันอันตราย ป้องกันประทุษร้ายทั้งปวง

รวมบทหนึ่งพระพุทธคุณ ๙ ประการ เข้ากลุ่มเป็นพระพุทธคุณ ๓ ประการ
            ๑. พระปัญญาธิคุณ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา คือ ความรู้ และจรณะ คือ ความประพฤติ เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
                                    สัง ย่อมาจาก สัมมาสัมพุทโธ
                                    วิ ย่อมาจาก วิชาจะระณะสัมปันโน
                                    โล ย่อมาจาก โลกะวิทู
            ๒. พระบริสุทธิคุณ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
                                    อะ ย่อมาจาก อะระหัง
                                    สุ ย่อมาจาก สุคะโต
                                    พุ ย่อมาจาก พุทโธ
            ๓. พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
                                    ปุ ย่อมาจาก อนุตตโร ปุริสะทัมมะสารถี
                                    สะ ย่อมาจาก สัตถาเทวะมนุษานัง
                                    ภะ ย่อมาจาก ภะคะวา ติ

ภาคปลาย
____________________________________________________________
ประคำนวหรคุณ
            สิทธิการิยะฯ บรูพาจารย์เจ้าท่านเมตตาให้ตั้งเครื่องบูชาวิทยาคมเป็นพานหนึ่ง พร้อมด้วยเทียนไข ๙ บาท ผ้าขาวแลผ้าแดงยาวคืบ ด้ายสายสิญจน์ยาวเท่าความสูง พร้อมด้วยสุคนธาบุปผาชาติ ตั้งไว้เป็นเครื่องสักการบูชาครูอาจารย์
            อนึ่งคือลูกประคำ ไม้ แก่นไม้ เมล็ดลูกไม้ ดินเผา หินหรือแร่ จำเพาะเป็นสีดำ เทา กรัก น้ำตาล และขาว ตามแต่จริตของผู้ศึกษาประสงค์จักมักครอง จำนวน ๑๐๘ เม็ด มีใจประคำ ๑ เม็ด รวมเป็น ๑๐๙ เม็ด จัดเรียงไว้เป็นปรรมฐานและวิปัสสนา ล้างด้วยน้ำสุคันธาขมิ้นส้มป่อย
            อนุโลมว่าเหล่าที่ใฝ่ในสิปปาปะศิลปะวิทยาคมดำรงมั่นในศีล ๕ ประการ อันประกอบด้วย เว้นทำร้าย ๑ เว้นทุจริตอาชีพ ๑ เว้นผิดทางกาม ๑ เว้นพูดเท็จ ๑ เว้นสุราเมรัย ๑ และตั้งสัจจาอธิษฐานมั่นสัญญาในคำสอนครูบาอาจารย์ ข้อห้ามในครูวิทยาคมทั้งปวง
            ปฏิโลมถึง “อย่าตกลงไปในที่ต่ำ อย่าเยียบย้ำไปบนที่สูง” มีใฝ่ในเดรัจฉานจริตคิดตกต่ำ มีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตนมิล่วงเกินครูบาอาจารย์ของตนและผู้อื่น มินำวิทยาคมใช้ในทางที่มิชอบประกอบในทางอันผิดธรรม ประการหนึ่งคือ "คุณครูอยู่สูง ตัวคนอยู่ต่ำ" คุณของครูอาจารย์ให้อยู่เหนือขึ้นไปหากจำต้องอยู่ในใต้ถุนบ้านเรือนอาคารแลลอดใต้สะพานน้ำทั้งสะพานลอยถอยใต้อุโมงค์ที่มีคนเยียบย่างจรอยู่เหนือศีรษะ แม้ครั้งที่เกิดการที่มีคนขึ้นย่างกายข้ามตัวเราให้ของให้ครูออกจากตัวขึ้นที่สูง ให้คาถาอาคมวิทยาคมนั้นไปอยู่เหนือผู้อื่นในสถานที่นั้นแล้วปกปักษ์รักษาเรามิได้เสื่อมคลายหายไป
                        บริกรรมคาถา “โสมาเรรัง” เชิญครูแลวิชาอาคมออกเสียก่อนมิให้แปดเปื้อนคนจรเบื้องบนศีรษะ
                        เมื่อจักเชิญประคำลูกขึ้นทำฝึกอธิษฐาน พึงบริกรรมคาถา “โสมาเรสะ” ” เชิญครูแลวิชาอาคมเข้าสู่ตัวตนเราเสียก่อน เพื่อให้การประสิทธิ์วิชาด้วยศรัทธาปสาทะเป็นการสำเร็จสัมฤทธิ์ในวิชา กล่าวเป็นคาถาเต็ม “ เอหิคาถังปิยังกาโย ทิศาปาโมกขังอาจาริยัง เอหิพุทธานุภาเวนะ เอหิธัมมานุภาเวนะ เอหิสังฆานุภาเวนะ กูจะสูบพระคาถาขึ้นไว้ในลำคอ กูจะยอพระคาถาทั้งปวงขึ้นใว้ในเหนืออก กูจะยกพระคาถาทั้งปวงขึ้นไว้ในเหนือเกศ พระครูกูเธอจึงให้กูเป็นเอกว่าคนทั้งหลาย เอหิคลายคลายปิยังมะมะ พุทธังสะระหิ โสมาเรสะระ เอหิมาเรมาระ อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ ธัมมังสะระหิ โสมาเรสะระ เอหิ มาเรมาระ อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ สังฆังสะระหิ โสมาเรสะระ เอหิ มาเรมาระ อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ กะขะคะฆะงะ จะฉะชะฌะญะ ฎะฐะฑะฒะณะ ตะถะทะธะนะ ปะผะภะพะมะ ยะระละวะ สะหะฬะอัง ทรงอะ ทรงอา ทรงอิ ทรงอี ทรงอุ ทรงอู ทรงเอ ทรงโอ ทรงเอา ทรงอัง ทรงอะ ทรงนะโมพุทธายะ ทรงอักขระ ๔๑ ตัว โอกาเส ติฏฐาหิ ติฎฐะติฯ”


บทนวหรคุณ ๙ ว่าดังนี้แลฯ

กลบทนวหรคุณ ๑๐๘ คำ ดังประการนี้แลฯ

บทนวหรคุณ ๙ วิสัชชนาแปลงแปรว่าไว้ดังนี้แลฯ
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ
กลบทนวหรคุณ ๑๐๘ คำ วิสัชชนาแปลงแปรว่าดังประการนี้แลฯ
อะ อะ
อะ สัง สัง อะ
อะ สัง วิ วิ สัง อะ
อะ สัง วิ สุ สุ วิ สัง อะ
อะ สัง วิ สุ โล โล สุ วิ สัง อะ
อะ สัง วิ สุ โล ปุ ปุ โล สุ วิ สัง อะ
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ สะ ปุ โล สุ วิ สัง อะ
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ พุ สะ ปุ โล สุ วิ สัง อะ
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ภะ พุ สะ ปุ โล สุ วิ สัง อะ


            เจริญประคำ ๑๐๘ เม็ด เข้าประกอบด้วยกลบทนวหรคุณ ๑๐๘ คำ โดย ๑ คำ บริกรรมต่อ ๑ เม็ดลูกประคำ อนุโลม ขึ้นต้นหยึ่งกลบทเพิ่มกล ๑ คำ แล้วปฏิโลมถอยหลัง ๑ คำ ลดลงเมื่อเพิ่มกล ๑ คำ ดังนี้แลว่า อะ  คือเม็ด ๑ , อะ คือเม็ด ๒ , อะ คือเม็ด ๓ , สัง คือเม็ด ๔ , สัง คือเม็ด ๕ , อะ  คือเม็ด ๖ ,..., ตามธงนวหรคุณสามชายในสารูปอักขระนั้นมา

                                   อะ อะ
                                    อะ สัง สัง อะ
                                    อะ สัง วิ วิ สัง อะ
                                    อะ สัง วิ สุ สุ วิ สัง อะ
                                    อะ สัง วิ สุ โล โล สุ วิ สัง อะ
                                    อะ สัง วิ สุ โล ปุ ปุ โล สุ วิ สัง อะ
                                    อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ สะ ปุ โล สุ วิ สัง อะ
                                    อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ พุ สะ ปุ โล สุ วิ สัง อะ
                                    อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ภะ พุ สะ ปุ โล สุ วิ สัง อะ
จัดเรียงได้ ๑๐๘ คำว่าดังนี้แลฯ
อะ / อะ / อะ / สัง / สัง / อะ / อะ / สัง / วิ / วิ / สัง / อะ / อะ / สัง / วิ / สุ / สุ / วิ / สัง / อะ / อะ / สัง / วิ / สุ / โล / โล / สุ / วิ / สัง / อะ / อะ / สัง / วิ / สุ / โล / ปุ / ปุ / โล / สุ / วิ / สัง / อะ / อะ / สัง / วิ / สุ / โล / ปุ / สะ / สะ / ปุ / โล / สุ / วิ / สัง / อะ / อะ / สัง / วิ / สุ / โล / ปุ / สะ / พุ / พุ / สะ / ปุ / โล / สุ / วิ / สัง / อะ / อะ / สัง / วิ / สุ / โล / ปุ / สะ / พุ / ภะ / ภะ / พุ / สะ / ปุ / โล / สุ / วิ / สัง / อะ /

            อุปเทห์ เจริญวิชานี้ในสมาธิจิตดำรงไว้ให้มั่น บริกรรมติดต่อไปหลายรอบจนชำนาญ ยิ่งบริกรรมมากจิตย่อมใกล้สมาธิเป็นหนึ่ง แล้วประคำเส้นนั้นจะเป็นอธิษฐานบารมี แม้คุณไสย์คุณคนมาปะทะ ทั้งลมเพลมพัด ภูตผีปีศาจพรายทั้งหลายก็มีอาจกลายกล้ำย้ำมาใกล้ผู้สวมใส่ซึ่งประคำนี้ แม้จักประสบภัยพิบัติทั้งปวง พึ่งบริกรรมประคำนี้ จะจนตรอกแค่ไหนย่อมเห็นทางสว่าง และปลอดภยันตรายพิบัติภัยนั้น ดังรจนามาไว้แต่เดิม
                                    อ กันไฟทั้งปวง
                                    สํ ตบะเดชะเสริมสร้างสง่าราศี
                                    วิ เจริญด้วยโภคทรัพย์โชคลาภ
                                    สุ เดินทางปลอดภัย ทั้งทางบก น้ำ อากาศ
                                    โล กันอันตรายยามเข้าป่าแลที่มืด
                                    ปุ เจริญด้วยมหาอำนาจ
                                    ส เมตามหานิยม สมณะ ขุนนางเอ็นดู
                                    พุ ภาวนาอารมณ์ ทำให้ไม่ตกต่ำอับจน
                                    ภ ป้องกันภยันอันตราย ป้องกันประทุษร้ายทั้งปวง
            สนเท่ห์ว่า หากบริกรรมจนชำนาญอยู่สม่ำเสมอเป็นนิจในวิชาประคำนวหรคุณนี้จะเจริญด้วยเดชะ  จะป้องกันตนเองพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง แม้ไสยศาสตร์จะมากระทบต้องถูกของก็จะสูญสิ้นไป ผู้ดำรงในไสยศาสตร์ที่กระทำมาก็มิอาจจะแก้คุณนี้ได้ เจ้าไสย์ทั้งหลายจักปราชัยไปเสียเอง


อวสานบท
____________________________________________________________
จงภาวนาประคำ บริกรรมคาถานี้อยู่มิให้ขาดเทอญ เจริญเป็นสมาธิกรรมฐานย่อมขจัดกิเลสเบาบางลงไปเป็นนิจ  จึงอุปเทสนเทห์มาด้วยประการละฉะนี้


ปริโยสานากาลจบไว้เท่านี้แล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น