พระร่วง คาถาวาจาศิกดิ์พระร่วง และ ตำนานพระร่วงเจ้า


พระร่วง


            โอม สิทธิการ นะมัสสิตวา อาจาริยัง ครูปาทัง อันตะรายัง วินาสสันติ สัพพะกัมมังประสิทธิเมฯ ขอบูชาครูอาจารย์เจ้าทั้งหลายทั้งปวง “สจฺจํ เว อมตา วาจา ความสัตย์จริงเป็นสิ่งไม่ตาย” ความจริงทั้งสิ้นล้วนแล้วสัตย์จริงเป็นนิรันดร์กาล หากพูดแต่ความจริง ทุกสิ่งล้วนเป็นจริงเสมอไป ดังใน สจฺจปานวิธยานุรูปคาถา
                                    
 สจฺจํ เว อมตา วาจา        เอส ธมฺโม สนนฺตโน
                                    สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ        อาหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา 
คาถานี้พึ่งระลึกไว้เป็นมงคลยิ่ง มีอานิสงค์เป็นผลแห่งอริยวาจา ดังคำแปลพระคาถานี้ว่าไว้
                                   " คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า
                        สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในความสัตย์ ที่เป็นอรรถเป็นธรรม "



                                 พระร่วงนั่ง                                            พระร่วงรางปืน
โบราณเจ้าเจ้าได้ผูกพระคาถาหนึ่งในในบงรพระพุทธศาสนา อันมีนัยความพระคาถาถึงพระร่วงเจ้า ผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีประกาศิตวาจาทั้งปวง พระคาถานั้นมีสำนวนว่า
                                    ๏ อิมัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ
                                    ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ
                                    ตะติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ ฯ
กลบทมีเป็นตติปถมังดังนี้
                                    ๏ ปถมัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ
                                    ทุติยัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ
                                    ตะติยัง สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ ฯ
กลบทนัยสังเขป สนเท่ห์ไว้ดังนี้
                                         ๏ สัจจะวาจัง อธิฏฐามิ ฯ
อุปเทห์คาถานี้ไว้ว่า อธิษฐานคราใด จักประสบความสำเร็จทั้งปวง เป็นวาจาสิทธิ์ วาจาศักดิ์สิทธิ์แห่งพระร่วงเจ้า พูดสิ่งใดให้ผลอย่างนั้น มิควรใช้สาปแช่ง การกระทำนั้นอาจจะคืนสนองกลับได้ พึ่งอธิษฐานแต่สิ่งอันเป็นเมตตา อันเป็นสิริและมงคลแก่ชีวิต เป็นปฐมเป็นต้นไปตามลำดับ


พจวจนคาถานัยหนึ่งที่ปุราณครูบาเจ้าท่านปรารภไว้ยามอธิษฐานประหนึ่งว่าอธิษฐานถึงพระรัตนตรัยแล้ว ท่านว่า
                        ๏ พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิฯ
แลคราใดเมื่ออธิษฐานวาจาสิทธิ์แล้วสัมฤทธิ์ผลแล้ว จึงถอนประกาศิตไว้เสีย จักมิเกิดเหตุเภทภัยไปตามลมปาก หรือมิได้ตั้งใจ
                                    ๏ อิมัง สัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ
                                    ทุติ อิมัง สัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ
                                    ตะติ อิมัง สัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ ฯ
ผู้ใดจักใช้คาถานี้ในสำเร็จผลพึ่งตั้งอยู่ในศีลในธรรม รักษาศีลข้อ ๔ ให้บริสุทธิ์ ไม่โกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ พระคาถาวาจาศิกด์สิทธิ์นี้จึงจะสำเร็จผลตามประสงค์ทุกประการ หาไม่แล้วจักเป็นภัยแก่ตนเองดั่งเช่นสำนวนสุภาษิตที่ว่า “ปลาหมอตายเพราะปาก” ดังเช่นนี้แลฯ

                                                ตำนานประกาศิตพระร่วงเจ้า
            อดีตกาลล่วงมาแล้วพันเศษปี มีพระเจ้าเมืองสุโขทัย พระนามว่า “พระร่วง” พระองค์ทรงธรรมอันวิจิตร มีบุญญาธิการเป็นอันมาก ประกอบด้วยวาจาศักดิ์สิทธิ์ ทุกสิ่งที่พูดล้วนแล้วแต่เป็นความจริง ในกาลก่อนขึ้นครองบ้านครองเมืองสุโขทัย
             ณ กรุงอินทปัด อันมีพระเจ้าอุทัยราช มีพระมเหสีที่สืบเชื้อสายวงค์พญานาคราช นาม พระนางนาค วันหนึ่งเมื่อพระเจ้าอุทัยราชพาพระมเหสีซึ่งกำลังมีพระครรภ์แก่ใกล้คลอดเสด็จประพาสหาดทราย เมืองอัมราพิรุณบูรณ์ พระมเหสีก็ประสูติการเป็นฟองไข่ พระเจ้าอุทัยราชไม่ทราบชาติกำเนิดเดิมของพระมเหสี จึงเกรงว่าฟองไข่นี้อาจจะเป็นเสนียดจัญไรและเกิดความอัปมงคลแก่บ้านเมือง จึงให้ทิ้งไป ก่อนที่จะตามเสด็จพระสวามีกลับกรุงอินทปัด พระนางนาคสั่งให้คนสนิทนำฟองไข่ไปฝังทรายไว้
            ในลวปุระขึ้นกับอาณาจักรขอม เพลานั้นไร้เจ้าเมืองครอบครอง มีเพียงนายคงเครา นายกองส่งน้ำ ทำหน้าที่รักษาการแทน ต้องส่งส่วยเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทะเลชุบศร เป็นประจำทุก ๓ ปี คุมไพร่พลขนน้ำไปถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แห่งอาณาจักรขอม ขากลับขบวนเกวียนของนายคงเคราผ่านเมืองอัมราพิรุณบูรณ์เห็นฟองไข่ขนาดใหญ่ผุดขึ้นบนหาดทราย นายคงเคราจึงเก็บเอาไปยังลวปุระด้วย แล้วหาแม่ไก่ให้มาช่วยฟักตัวละหนึ่งเดือน พอครบสิบเดือนไข่นั้นก็แตกออก ภายในมีเด็กผู้ชาย นายคงเคราจึงให้ชื่อว่า ร่วงและเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม
            ครั้งหนึ่งนายร่วงอายุ ๑๑ ปี ได้พายเรือเล่นในทุ่งพรหมมาศ ทะเลชุบศร พายเรือตามน้ำไปได้สักพักก็คิดจะกลับแต่ต้องพายทวนน้ำ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยจึงพูดเปรยๆ ว่า “ทำไมน้ำไม่ไหลกลับไปทางเรือนเราบ้าง” ทันใดนั้นน้ำในทุ่งพรหมมาศก็เปลี่ยนทิศไหลพาเรือกลับอย่างที่ตนพูด
            ครั้งหนึ่งนายร่วงส่งส่วยน้ำทะเลเพื่อชุบศรศักดิ์สิทธิ์แก่พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ แห่งอาณาจักรขอม เห็นว่าภาชนะดินเผานั้นมีน้ำหนักมากใช้ขนส่งน้ำลำบาก จึงสั่งให้ไพล่พลสานกระออมไม้ไผ่ใช้ชันยาอุดรอยรั่ว แล้วให้ไพร่พลตักน้ำจากทะเลชุบศร พระร่วงได้กล่าวกับชะลอมนั้นว่า “วารีเอ๋ย เจ้าจงอย่าได้ไหลรั่วออกมาจากกระออมนี้” น้ำก็มิไหลรั่วออกมาจากกระออมแม้หยุดเดียว ไพร่พลต่างเห็นใจการอัศจรรย์นั้น

            ครั้งแล้วพระเจ้าขอมทรงทราบเรื่องสติปัญญาและบุญญาธิการอันอัศจรรย์ ทรงเคืองพระทัยมากว่าจะเป็นภัยต่อพระองค์ ทรงสั่งให้กองทัพทหารไปจับตัวมาสั่งหารเสีย นายร่วงรู้ความจึงหลบหนีขึ้นเหนือแวะนั่งพักริมวัดแห่งหนึ่ง บ้านบางคลาน เมืองสระหลวง ได้ประสบกับความอดอยาก ชาวบ้านได้มอบข้าวปลาให้ เมื่อพระร่วงกินเสร็จเกิดความสงสารปลา จึงโยนลงสระและสั่งว่า “เจ้าจงมีชีวิตขึ้นมาเถิด” พลันปลาซึ่งไม่มีเนื้อมีแต่ก้างนั้นก็กลับมีชีวิตขึ้นมาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า ปลาก้างพระร่วง

            ต่อมานายร่วงเดินทางถึงเมืองเชลียง เกิดปวดท้องหนัก จึงนั่งถ่ายที่ข้างป่า เสร็จแล้วได้หักกิ่งไม้แห้งมาชำระและโยนทิ้ง พร้อมกับสั่งว่า “จงงอกขึ้นมาเถิด” พลันไม้นั้นก็งอกขึ้นมาเป็นต้น ซึ่งมีกลิ่นเหมือนอาจม ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ชำระพระร่วง


            นายร่วงหนีมาไกลถึงศุโขทัย อายุครบอุปสมบท ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พระร่วง นับแต่นั้นมา ทหารขอมคนหนึ่งมีวิชาแกร่งกล้า ได้ตามจนทราบว่าพระร่วงได้บวชแล้ว จึงดำดินลอดกำแพงวัดเข้าไป เห็นพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่แต่ไม่รู้จักจึงถามว่า “พระร่วงที่มาจากเมืองละโว้อยู่ที่ไหน” พระร่วงจึงสอบถามจนรู้ว่าเป็นนายทหารขอมที่ตามมาจับตนจึงบอกว่า “เจ้าจงอยู่ที่นี่แหละอย่าไปไหนเลย จะไปตามพระร่วงให้” ด้วยฤทธิ์วาจาสิทธิ์ของพระร่วง ร่างของขอมดำดินผู้นั้นก็แข็งกลายเป็นหินติดคาแผ่นดินอยู่ตรงนั้น


                              ขอมดำดิน  



            ในวันใส่บาตรเทโวที่บนลานวัดเขาพระบาทใหญ่ เมื่อพระร่วงฉันภัตตาหารเสร็จ ข้าวที่เหลือจากก้นบาตร ท่านได้โปรยลงบนบานวัดและทรงอธิษฐานว่า “ให้ข้าวตอกดอกไม้นี้กลายเป็นหินชนิดหนึ่ง และมีอายุยั่งยืนนานชั่วลูกชั่วหลาน” พลันเกิดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมมีเมล็ดสีข้าวสุกฝังอยู่ในเนื้อหินสีดำ ชาวบ้านเรียกว่า ข้าวตอกพระร่วง
ข้าวตอกพระร่วง
            เมื่อพระร่วงได้ครองเมืองสุโขทัย เสด็จออกประพาสป่าไปตามเชิงเขา ทอดพระเนตรธรรมชาติ นอกเมืองทางทิศใต้จนถึงโซกซึ่งเป็นอ่างขนาดใหญ่ มีเขาปิดกั้นทางน้ำอยู่พระองค์จึงตั้งจิตอธิษฐานแล้วฟันดาบลงไป เพื่อเปิดทางน้ำให้แยกออก จะได้มีน้ำหล่อเลี้ยงอาณาประชาราษฏร์ จึงทำให้เขาแยกจากกันเป็นที่น่าอัศจรรย์ น้ำก็ไหลลงผ่านโซกเขาลงไปเบื้องล่าง เรียกว่า คลองเสาหอ จนถึงทุกวันนี้สถานที่ที่พระร่วงลองพระขรรค์ก็มีชื่อเรียกว่า โซกพระร่วงลองพระขรรค์ ส่วนหินที่ลับพระขรรค์เรียกว่า โซกหินลับมีด 
โซกพระร่วงลองพระขรรค์
            ปาฏิหาริย์และความอัศจรรย์แห่งประกาศิตพระร่วงพอสังเขปมีด้วยประการฉะนี้แล
                                                                                                                       ๙ มหาเวทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น