คัมภีร์พระสุริยาตร์ มานัตต์ ภาคคำนวณพิชัยสงคราม


คัมภีร์พระสุริยาตร์ มานัตต์ ภาคคำนวณพิชัยสงคราม ภาคคำนวณพระสุริยยาตร์
ทำอัตตา
            ถ้าจะทำ อัตตา ให้ตั้ง จุลศักราช ปีที่ต้องการนั้นลง เอา 292207 คูณ แล้วเอาเกณฑ์ 373 บวก เอา 800 หาร ได้ลัพธ์เท่าใด เอา 1 บวกเข้าเป็น หรคุณอัตตา เศษเอามาลบเชิงหาร (คือ เลข 800 ที่เป็นตัวหาร) ตกลัพธ์เป็น "กัมมัชพลอัตตา" แล้วจึงตั้ง หรคุณอัตตาลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา 11 คูณ เอา 650 บวก แล้วเอา 692 หาร เศษเป็น "อวมานอัตตา" ลัพธ์ซึ่งหารได้นั้น เอาไปบวกด้วย หรคุณอัตตาฐานต่ำ แล้วเอา 30 หาร เศษเป็น "ดิถีอัตตา" ลัพธ์เป็น "มาสเกณฑ์อัตตา" แล้วตั้งหรคุณอัตตาลงอีก เอาเกณฑ์ 621 มาลบ เหลือเท่าใด เอา 3232 หาร เศษเป็น อุจจพลอัตตา ถ้าเอา 7 หาร "หรคุณอัตตา" เศษเป็น "วันเถลิงศก"
ทำอัตตากำเนิด
            ถ้าจะหา อัตตากำเนิด คือ วันเกิดของบุคคลก็ดี หาวันปัจจุบันที่จะต้องการที่เรียกว่า "สุรทินประสงค์" ก็ดี ต้องนับแต่หน้าวันเถลิงศกไปถึงวันเกิด หรือ วันที่ต้องการทราบได้เท่าใด เรียกว่า สุรทินอัตตา แล้วเอา สุรทินอัตตา บวกด้วยหรคุณอัตตาเป็น "หรคุณกำเนิด" แล้วนับเดือนห้าเป็นต้นไป จนถึงเดือนเกิดได้เท่าใดบวกเข้ากับมาสเกณฑ์อัตตา เป็น "มาสเกณฑ์กำเนิด" แล้วตั้งสุรทินอัตตาลง เอา 800 คูณ เอา กัมมัชพลอัตตาบวก เป็น "กัมมัชพลกำเนิด" ตั้งอุจจพลอัตตาลง เอา สุรทินอัตตาบวก เป็น "อุจจพลกำเนิด" ตั้ง หรคุณกำเนิด ลง เอา 7 หาร เศษ เป็น "วารกำเนิด"
             ตั้งสุรทินอัตตาลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา 11 คูณ ได้ลัพธ์เท่าใด เอาอวมานอัตตาบวกแล้วเอา 692 หารเศษเป็น "อวมานกำเนิด" ลัพธ์ซึ่งหารได้นั้น เอาไปบวกสุรทินอัตตาฐานต่ำ แล้วเอาดิถีอัตตาบวกเข้าด้วย ได้ลัพธ์เท่าใด เอา 30 หาร เศษเป็น "ดิถีกำเนิด" แล ถ้าเอา 692 หารมิได้โดยตัวตั้งน้อยกว่าตัวหาร จำนวนเลขที่หารไม่ได้นั้นคงเป็นเศษทั้งสิ้น เศษนั้นเป็น อวมานกำเนิดอยู่เอง และถ้าเอา 30 หารมิได้ จำนวนเลขที่หารไม่ได้นั้นก็คงเป็นเศษและเป็น ดิถีกำเนิด ด้วย อนึ่งถ้าคำนวณไปแล้ว เศษวัน ออกมิตรงกับดิถี ให้ถอยสุรทินอัตตาเข้ามาเสียตัวหนึ่ง เพราะว่าเมื่อเวลาเกิดนั้น ดิถียังไม่เต็มบริบูรณ์ จึงต้องถอยสุรทินเข้าหาเพื่อให้ได้ผลตรงกับความที่เป็นจริง
ทำมัธยมพระอาทิตย์
            ถ้าจะทำมัธยมพระอาทิตย์ ให้ตั้ง กัมมัชพลกำเนิด ลง เอาเกณฑ์ 24350 หารลัพธ์เป็นราศี ถ้าหารมิได้ ลง 0 เป็นเลขลัพธ์เสมอไป เศษเอา 811 หาร ลัพธ์เป็นองศา มีเศษอีกเอา 14 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา เศษเป็นฟิลิปดาแล้วเอา 3 ลบลิปดาทุกครั้ง ได้ลัพธ์เป็นราศีองศาลิปดาฟิลิปดาเท่าใด เป็น "มัธยมพระอาทิตย์" แล
ทำสัมผุสพระอาทิตย์
            ถ้าจะทำสัมผุสพระอาทิตย์ ให้ตั้ง มัธยมพระอาทิตย์ ลง เอา 2 ลบราศี 20 ลบองศา เศษในราศีเป็น "เกณฑ์" (คือ เลขลัพธ์ในราศี)
ถ้าเกณฑ์เป็น 0, 1, 2 เอา 2 คูณจำนวนเลขในราศี ได้ลัพธ์เป็น "ขันธ์"
ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ให้ลบอัฑฒจักร คือ จำนวน 6 ราศี เขียนดังนี้ 5 | 29 | 60 เลขลัพธ์ในราศี เรียกว่า เศษในราศี เอา 2 คูณเป็น "ขันธ์"
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ให้เอา 6 ลบเกณฑ์เศษในราศี เอา 2 คูณเป็น "ขันธ์" ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ให้ลบทวาทศมณฑล คือ 12 ราศี เขียนดังนี้ 11 | 29 | 60 เศษในราศี เอา 2 คูณเป็น "ขันธ์"
ถ้าองศามีถึง 15 เอา 15 ลบ บวก 1 เข้าที่ขันธ์เป็นเกณฑ์ แล้วเอา 60 คูณองศาบวกลิปดาเข้าด้วย เป็น "ภุชลิปด์" ตราไว้
แล้วนับฉายาเท่าพระอาทิตย์ เรียงลงมาเบื้องล่างเท่าขันธ์ดังนี้
35 67 94 116 129 134 แล้วเอาฉายาที่นับเท่าขันธ์ ลบฉายาฐานถัดลงมาหรือเรียกว่าฐานต่ำก็ได้ เหลือเศษเท่าใดเอาไปคูณภุชลิปด์
แล้วเอา 900 หาร ลัพธ์เอาไปบวกด้วยฉายาฐานบนที่เท่าขันธ์ แล้วเอา 60 หารลัพธ์เป็นองศา เศษเป็นลิปดา ลง 0 เป็นราศีนี้ชื่อว่า "รวิภุชผล"
ถ้าแม้ว่าขันธ์ 0 เมื่อจะทำรวิภุชผล ให้เอาฉายาฐานบนไปคูณภุชลิปด์ทีเดียว ไม่ต้องลบฐานต่ำ
แล้วเอา 900 หารเศษทิ้งเสีย ได้ลัพธ์เป็นลิปดา ถ้าเกินกว่า 60 ต้องเอา 60 ทอนขึ้นเป็น 1 องศา เศษคงไว้ในฐานลิปดา เมื่อองศาไม่มีให้ลง 0 ที่องศา ส่วนในราศีนั้นให้ลง 0 เป็นราศี แล้วดูเกณฑ์ที่ทำมาแต่เดิมนั้น คือเมื่อเอา 2 ลบราศีและ 20 ลบองศาแล้ว
- ถ้าเกณฑ์แต่ 0 ถึง 5 เป็นเกณฑ์ลบ
- ถ้าเกณฑ์แต่ 6 ถึง 11 เป็นเกณฑ์บวก
เมื่อรวิภุชผลอยู่ในเกณฑ์ลบก็ให้ลบ อยู่ในเกณฑ์บวกก็ให้บวก กับมัธยมพระอาทิตย์ ได้ลัพธ์เป็น "สัมผุสพระอาทิตย์"
ทำมัธยมพระจันทร์
ถ้าจะทำมัธยมพระจันทร์ ให้ตั้ง สุทินอัตตา ลงสองฐาน ฐานบนเอา 11 คูณ แล้วเอาอวมานอัตตาบวก เอา 692 หาร เศษเป็นอวมานกำเนิด ลัพธ์เอาไปบวกด้วยฐานต่ำ แล้วเอาดิถีอัตตาบวกเข้า เอา 30 หาร เศษเป็นดิถีกำเนิด แล้วตั้งอวมานกำเนิดลงสองฐาน ฐานบนเอา 25 หาร เศษเป็นฟิลิปดา ลัพธ์เอาไปบวกด้วยฐานต่ำ แล้วเอา 60 หาร ได้ลัพธ์เป็นองศา เศษเป็นลิปดา ลง 0 เป็นราศี แล้วจึงตั้งดิถีกำเนิดลง เอา 12 คูณ เอา 30 หาร ได้ลัพธ์เท่าใดบวกด้วยราศี เศษบวกด้วยองศา แล้วเอาลัพธ์ที่ได้นั้นไปบวกด้วยมัธยมพระอาทิตย์ในวันนั้น ฐานลิปดาให้เอา 40 ลบเสมอไป เหลือเท่าใดเป็น "มัธยมพระจันทร์"
ทำมัธยมอุจจ์และอุจจวิเศษ
ถ้าจำทำมัธยมอุจจ์ ให้ตั้ง อุจจพลอัตตา ลง เอา สุทินอัตตาหรือ สุทินประสงค์ บวกเข้าเอา 3 คูณ เอา 808 หารลัพธ์เป็นราศี เศษเอา 30 คูณแล้วเอา 808 หารลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณแล้วเอา 808 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา เอา 2 บวกลิปดาเป็น "มัธยมอุจจ์" แล้วเอามัธยมอุจจ์ลบมัธยมพระจันทร์ เป็น "อุจจวิเศษ"

ทำสัมผุสพระจันทร์
ถ้าจะทำสัมผุสพระจันทร์ ให้ตั้ง อุจจวิเศษ ลง เศษในราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ในเอา 2 คูณเป็น "ขันธ์"
ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ให้ลบอัฑฒจักร (6 ราศี) คือ 5 | 29 | 60 เศษในราศี เอา 2 คูณเป็น "ขันธ์" ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 เอา 6 ลบเกณฑ์ เศษในราศีเอา 2 คูณเป็น "ขันธ์" ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ให้ลบทวาทศมณฑล (12 ราศี) คือ 11 | 29 | 60 เศษในราศีเอา 2 คูณเป็น "ขันธ์" แล้วเอา 60 คูณองศา บวก 60ลิปดาขึ้นเป็น "ภุชลิปด์" ตราไว้
แล้วให้นับฉายาพระจันทร์เท่าขันธ์ ดังนี้
77 148 209 256 286 296
เอาฐานบนที่นับเท่าขันธ์ ลบฐานที่ถัดลงมา เศษเอาไปคูณภุชลิปด์
แล้วเอา 900 หาร ลัพธ์เอาบวกด้วยฉายาฐานบน แล้วเอา 60 หาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเป็นลิปดา ลง 0 เป็นราศี นี้ชื่อว่า "จันทรภุชผล"
ถ้าแม้ว่าขันธ์เป็น 0 จะทำจันทรภุชผล ต้องเอาฉายาฐานบนคูณภุชลิปด์ แล้วเอา 900 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา ถ้าลิปดามีถึง 60 ต้องทอนขึ้นเป็นองศา แล้วลง 0 เป็นราศี แล้วดูเกณฑ์ที่ทำมาแต่เดิมนั้น
- ถ้าเกณฑ์แต่ 0 ถึง 5 เป็นเกณฑ์ลบ
- ถ้าเกณฑ์แต่ 6 ถึง 11 เป็นเกณฑ์บวก
เมื่อรวิภุชผลอยู่ในเกณฑ์ลบก็ให้ลบ อยู่ในเกณฑ์บวกก็ให้บวก กับมัธยมพระอาทิตย์ ได้ลัพธ์เป็น "สัมผุสพระจันทร์"
ทำดิถีและนาทีดิถี
ถ้าจะทำดิถีและนาทีดิถี ให้ตั้ง สัมผุสพระจันทร์ลง เอาสัมผุสพระอาทิตย์ลบ เหลือเท่าใดเป็นเพียร แล้วให้ตั้งเพียรลง เอา 30 คูณราศีให้เป็นองศา และองศาเดิมมีเท่าใดให้เอาบวกเข้า แล้วเอา 60 คูณให้เป็นลิปดา และลิปดาเดิมมีอยู่เท่าใดให้เอาบวกเข้า แล้วเอา 720 หาร ลัพธ์เป็น "ดิถี" เศษเอา 12 หาร ลัพธ์เป็น "นาทีดิถี" แล

ทำฤกษ์พระเคราะห์
ถ้าจะหาฤกษ์พระเคราะห์องค์ใดๆ ก็ดี ให้ตั้งสัมผุสพระเคราะห์องค์นั้นลง เอา 30 คูณราศีให้เป็นองศา จำนวนองศาเดิมมีอยู่เท่าใดเอาบวกเข้า แล้วเอา 60 คูณให้เป็นลิปดา ลิปดาเดิมมีอยู่เท่าใดให้บวกเข้า แล้วเอา 800 หาร ได้ลัพธ์เป็น "ฤกษ์" เศษเอา 13 หาร ลัพธ์เป็น "นาทีฤกษ์"

คัมภีร์สุริยาตร์ มานัตต์ ภาคคำนวณพิชัยสงคราม 
ภาคคำนวณพระมานัตต์
ทำกำลังพระเคราะห์
ถ้าจะทำกำลังพระเคราะห์ทั้ง 7 พระองค์ คือ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระมฤตยู ท่านให้ตั้งจุลศักราชกำเนิดหรือจุลศักราชที่ต้องการจะทราบนั้นลงแล้วเอา 610 ลบ เหลือเท่าใดเป็น "สรุปอัปป" ตราไว้
แล้วตั้งมัธยมพระอาทิตย์ในวันที่ต้องการจะทราบกำลังพระเคราะห์นั้นลง แล้วเอา 23 ลบลิปดา เหลือเท่าใดเป็น "มัธยมรวิ" ตราไว้
แล้วจึงตั้งสรุปอัปปลง เอา 12 คูณให้เป็นราศี แล้วเอาจำนวนราศีในมัธยมรวิบวก เอา 30 คูณให้เป็นองศา
แล้วเอาองศามัธยมรวิบวกเข้า เอา 60 คูณให้เป็นลิปดา
แล้วเอาลิปดาในมัธยมรวิบวกเข้า เป็น "กำลังพระเคราะห์" ทั้ง 7 พระองค์แล
ทำมัธยมพระอังคาร
ถ้าจะทำมัธยมพระอังคาร ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น 2 ฐาน
- ฐานบน เอา 2 หาร ลัพธ์นั้นชื่อว่าปฐมลัพธ์ตราไว้
- ฐานต่ำเอา 16 คูณ แล้วเอา 505 หาร ลัพธ์นั้นชื่อทุติยลัพธ์ตราไว้
แล้วเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน เอา 60 หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา 30 หาร เศษเป็นองศา
แล้วเอา 12 หารลัพธ์เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี 3 | 0 | 20 ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระอังคาร"
ทำสัมผุสพระอังคาร
ถ้าจะทำสัมผุสพระอังคาร ให้ตั้ง มัธยมพระอังคาร ลง จึงเอาอุจจนี 7 | 4 | 0 ลบ "มัธยมพระอังคาร" แล้วดูเศษใน "ราศี" เป็นเกณฑ์
ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักร (สามราศี) คือ 2 ราศี 29 องศา 60 ลิปดา ( 2 | 29 | 60 ) ลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรีปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา 2 หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา 60 คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา 2 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท 45 | 0 อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ" ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้ แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา 60 คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 60 คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้ จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง 0 เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระอังคาร" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมพระอังคาร เป็น "มนทสัมผุส" ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมพระอังคาร เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา มัธยมรวิ มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา 1 ราศีเป็น 30 องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวน "ราศี" เป็นเกณฑ์
ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ"
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา 3 หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา 60 คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา 3 มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 4 คูณทั้ง 2 ฐาน ฐานต่ำนั้นเอา 60 หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นฐานบน
แล้วเอา 15 หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า แล้วเอา 15 มาหารอีก ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น "สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์ ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้ แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา 60 คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา 60 คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้ แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง 0 เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสตั้งเทียบกันดู แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้ ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมา ลบ ซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลมา บวก ด้วยมนทสัมผุส ได้ลัพธ์ เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระอังคาร" แล
ทำมัธยมพระพุธ
ถ้าจะทำมัธยมพระพุธ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น 2 ฐาน ฐานบนเอา 7 คูณแล้วเอา 46 หาร ลัพธ์ชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา 4 คูณ ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ตราไว้ แล้วเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน เอา 60 หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา 30 หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา 12 หารลัพธ์ เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี 5 | 27 | 22 ได้ลัพธ์เท่าใดเป็น "มัธยมพระพุธ" แล
ทำสัมผุสพระพุธ
ถ้าจะทำสัมผุสพระพุธ ให้ตั้ง มัธยมรวิใ นวันที่ประสงค์นั้นลง เอาอุจจนี 7 | 10 | 0 มาลบ "มัธยมรวิ" ได้ลัพธ์เท่าใด ดูจำนวนในราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา 2 หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา 60 คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา 2 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้ง เฉท 100 | 0 อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ" ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้ แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา 60 คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 60 คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้ จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง 0 เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง มัธยมรวิ ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมพระพุธ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา 1 ราศีเป็น 30 องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา 3 หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา 60 คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา 3 มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
เอาเกณฑ์ 21 | 0 บวกด้วยสิงฆผล เป็น "สัมผุสพยาสน์" แล
ตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้ว ในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์ ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้ แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา 60 คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณ บวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
ตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา 60 คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้ จึงเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง 0 เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้งมนทสัมผุสกับมหาผลมนทสัมผุสเทียบกันดู พิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้ ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระพุธ" แล
ทำมัธยมพระพฤหัสบดี
ถ้าจะทำมัธยมพระพฤหัสบดี ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา 12 หาร ลัพธ์ชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา 1032 หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน แล้วเอา 60 หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา 30 หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา 12 หารลัพธ์ เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี 7 | 28 | 17 ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระพฤหัสบดี" 
ทำสัมผุสพระพฤหัสบดี
ถ้าจะทำสัมผุสพระพฤหัสบดี ให้ตั้ง มัธยมพระพฤหัสบดี ลง จึงเอาอุจจนี 5 | 22 | 0 ลบ "มัธยมพระพฤหัสบดี" แล้วดูเศษในราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา 2 หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา 60 คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา 2 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท 92 | 0 อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ" ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้ แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา 60 คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 60 คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้ จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง 0 เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระพฤหัส" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมพระพฤหัส เป็น "มนทสัมผุส" ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมพระพฤหัส เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา 1 ราศีเป็น 30 องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศีแล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วให้ตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา 3 หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา 60 คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา 3 มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 3 คูณทั้ง 2 ฐาน ฐานที่หนึ่งเอา 60 หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกด้วยฐานที่สอง แล้วเอา 7 หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษเอา 60 คูณบวกเศษที่อยู่ฐานที่หนึ่ง แล้วเอา 7 มาหารอีกเล่า ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น "สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์ ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้ แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา 60 คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา 60 คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้ แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง 0 เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้ ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระพฤหัสบดี" แล
ทำมัธยมพระศุกร์
ถ้าจะทำมัธยมพระศุกร์ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น 2 ฐานแล้วเอา 10 คูณทั้งสองฐาน ฐานบนเอา 6 หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา 243 หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ แล้วเอาทุติยลัพธ์ไปลบปฐมลัพธ์ เหลือเท่าใดเอามาตั้งลง แล้วเอา 60 หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา 30 หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา 12 หารลัพธ์ เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา ไปบวกด้วย อุจจนี 6 | 2 | 24 ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระศุกร์"
ทำสัมผุสพระศุกร์
ถ้าจะทำสัมผุสพระศุกร์ ให้ตั้ง มัธยมรวิ ในวันที่ประสงค์นั้นลง เอาอุจจนี 2 | 20 | 0 มาลบ "มัธยมรวิ" ได้ลัพธ์เท่าใด ดูจำนวนในราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา 2 หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา 60 คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา 2 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท 320 | 0 อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ" ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา 60 คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 60 คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้ จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง 0 เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมรวิ" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วยมัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบมัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมพระศุกร์" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา 1 ราศีเป็น 30 องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศีแล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา 3 หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา 60 คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา 3 มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
เอาเกณฑ์ 11 | 0 บวกด้วยสิงฆผล เป็น "สัมผุสพยาสน์" แล
แล้วให้ตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์ ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้ แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา 60 คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณ บวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
ตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา 60 คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้ แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง 0 เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้งมนทสัมผุสกับมหาผลมนทสัมผุสเทียบกันดู พิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้ ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระศุกร์" แล 
ทำมัธยมพระเสาร์
ถ้าจะทำมัธยมพระเสาร์ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น 2 ฐาน ฐานบนเอา 30 หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ก่อน ฐานต่ำเอา 6 คูณเอา 10000 หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน ได้ลัพธ์เท่าใด เอา 60 หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา 30 หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา 12 หารลัพธ์อีก เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี 6 | 19 | 4 ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระเสาร์" 
ทำสัมผุสพระเสาร์
ถ้าจะทำสัมผุสพระเสาร์ ให้ตั้ง มัธยมพระเสาร์ ลง จึงเอาอุจจนี 8 | 7 | 0 ลบ "มัธยมพระเสาร์" แล้วดูเศษในราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
จึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา 2 หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา 60 คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา 2 หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท 63 | 0 อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ" ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา 60 คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 60 คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้ จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง 0 เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระเสาร์" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมพระเสาร์ เป็น "มนทสัมผุส" ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมพระเสาร์ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา 1 ราศีเป็น 30 องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์" ถ้าเกณฑ์ 0, 1, 2 ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้ ถ้าเกณฑ์ 3, 4, 5 ชื่อทวิปทัง เอา 3 ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ 6, 7, 8 ชื่อตรัปทัง เอา 6 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ 9, 10, 11 ชื่อจตุปปทัง เอา 9 มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง "ภุช" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี" ถ้าราศีเป็น 0 ให้เอา 8 คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี 2 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 7 แล้วเอา 2 คูณองศาและลิปดา ถ้าราศีเป็น 1 ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น 4 แล้วเอา 6 คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา 60 หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศีแล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา 60 หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา 60 หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ 1 ถึง 29 ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ 30 ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา 1 บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา 3 หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา 60 คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา 3 มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา 7 คูณทั้ง 2 ฐาน ฐานที่หนึ่ง นั้นเอา 60 หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นฐานที่สอง แล้วเอา 6 หาร ลัพธ์ตราไว้ เศษนั้นเอา 60 คูณ บวกเศษที่อยู่ฐานทีหนึ่งเข้า แล้วเอา 6 มาหารอีกเล่า ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น "สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์ ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์ ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้ แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา 60 คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา 60 คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้ แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา 60 คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้ แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา 60 คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง 0 เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้ จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู แล้วพิจารณาดู "ภุช"ที่กระทำในตอนหลังนี้ ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระเสาร์" แล

ทำมัธยมพระราหู
                ถ้าจะทำมัธยมพระราหู ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น 2 ฐาน ฐานบนเอา 20 หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ เศษตัดออกเสีย ฐานต่ำเอา 265 หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาทุติยลัพธ์บวกเข้ากับปฐมลัพธ์ ได้ลัพธ์เท่าใด เอา 60 หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา 30 หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา 12 หารลัพธ์ เศษเป็นราศี ได้เศษเป็นราศี องศา ลิปดาเท่าใด เป็น "มัธยมพระราหู"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น