ไชยเบงชรคาถา คาถาชินบัญชรล้านนา

ไชยเบงชรคาถา (ไจยะเบงชร) คาถาชินบัญชรล้านนา

ฉบับ ไชยเบงชรคาถา ประกอบจุททสมคาถา
                ชะยาสะนา คะตา พุทธา       เชตตะวามารัง สะวาหะนัง
                จะตุสัจจังมะตะ ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา
                ตัณหังกะราทะโย พุทธา       อัฏฐะวีสะติ นายะกา
                สัพเพ ปะติฏฐิตา  มัยหัง       มัตถะเก มุนิสสะรา
                สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง         พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
                สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง        อุเร สัพพะคุณากะโร
                หะทะเย เม อะนุรุทโธ         สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
                โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง      โมคคัลลาโน จะ วามะเก
                ทักขิเณ สะวะเน  มัยหัง       อาสุง อานันทะราหุโล 
                กัสสะโป จะ มะหานาโม       อุภาสุง วามะโสตะเก
                ทันเต  ปิฏฐิภาคัสมิง          สุริโย วะ ปะภังกะโร
                นิสินโน สิริสัมปันโน           โสภิโต มุนิปุงคะโว
                กุมาระกัสสะโป นามะ         มะเหสี จิตตะวาทะโก
                โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง      ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
                ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ        อุปาลี  นันทะสิมพะลี
                อิเม ปัญจะ มหาเถรา         นะลาเฏ  ตีละกา มะมะ
                เสสาสีติ มะหาเถโย           วินะยัสสะ นายะโก
                นะรามะเรหาภินโต            วินายะโก ชิโนริ เชยฺยา
                วิมะโล วิโมจะโก            ปัชชา มะปุเช ภาธิ
                พุทโธปะโก ทะโก //         บทนี้มีชื่อว่า เอกทสมคาถาแล ๑๑
                มุนิโน วะทะนา ภายัง        ปะโพเธตุ ปัชชา ปัชชัง
                มุนิโน วะทะนาภายะ         ปะโพเธตุ ปัชชา ปัชชัง //ทวาทสมคาถาแล ๑๒
                สิริกิระณะนิโฏ ภารโปทะวะยัคตัง
                สิริกิระณะภิมานัง มาระมันตัง วิธัส
                สิริกิระณะนิเกตัง เกตุ เมกังติโลเก
                สิริกิระระกะระคะฯตัง โลกะนาถัง นะมามิหัง // บทนี้ตัวเป็น ๑๕ บาท
                                           ชื่อ รินิคาถา เป็นถ้วน เตรสมคาถา แล ๑๓
                ติโลมัคคา หะนะโก มะตัง    นะเย วาสะนัง  โยหะมะลัง
                ปะธังสะยิติ โลกะมัคคา      หะนะโก  มะตัง นโกมะตัง
                นะเยปะเกวะ นิพพานะ      ปะรัง ปะเวสี  โยติ // จุทฺสมคฺคา แล ๑๔
                               อิจเจวะเม กะโตรักโข สุรักโข
                               พุทธานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
                               ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
                               สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
                               จะรามิ ธัมมานุภาวะปาลิโตติ
                           (ชะยะปัญชะระปัณณะระสะคาถานิฏฐิตา)

ฉบับ ปฐมไชยเบงชรคาถา
ชะยาสะนา กะตา พุทธา      เชตตะวามารัง สะวาหะนัง 
จะตุสัจจังมะตะ ระสัง        เยปิวิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา       อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเก มุนิสสะรา

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง         พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง       อุเร สัพพะคุณากะโร

หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง
     โมคคัลลาโน จะวามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะราหุลา   
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก

เกสันเต  ปิฏฐิภาคัสมิง       สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน           โสภิโต มุนิปุงคะโว

กุมาระกัสสะโป เถโร         มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง      ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ         อุปาลี นันทะสีวะลี 
อิเม ปัญจะ มหาเถรา
         นะลาเฏ  ตีละกา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา           ชิตะวันตา ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ        อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

ระตะนัง ปุระโต อาสิ         ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ       วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ        อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง
 อาสิ        เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินนานัง พะละสังยุตเต       ธัมมะปาการะลังกะเต
วะสะโต เมสะกัจเจนะ       สัมมาสัมพุทธะปัญชะเร

วาตะปิตตา ทิสะชาตา        พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อะเสสา
 วินะยัง ยันตุ         อะนันตะชินะเตชะสา
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ        วิหะรันตัง มะฮีตะเล  
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ     เตมะหาปุริสาสะภา
           อิจเจวะเมกะโตรักโข สุรักโข    
           พุทธานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
           ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
           สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
          จะรามิ ธัมมานุภาวะปาลิโตติ

      (ชะยะปัญชะระปัณณะระสะคาถานิฏฐิตา)

ตามตำนานในปั๊บสาว่าไว้ดังนี้
                     สูตรเชยฺยเบงชรนี้ถูกแต่งขึ้นในศรีลังกา ในสมัยพระราชาแห่งลังกาพระองค์หนึ่ง ทรงมีพระโอรส ด้วยความปลาบปลื้มปิติยินดีของพระราชาและพระมเหสี ทรงให้โหรหลวงมาพยากรณ์ลักษณะดวงชะตาของพระโอรส โหรหลวงได้ทำการตรวจชะตาจักรราศีและบุคคลิกลักษณะ พบว่า จักบังเกิดฟ้าผ่าต้องพระโอรสจนถึงแก่สวรรคต ในคราวอายุครบ ๗ ปี ๗ เดือน พระราชาทรงเป็นที่หนักพระราชฤหัยกับคำทำนายเป็นอันมาก แต่ยังไม่ได้เชื่อจนหาทางแก้ไข พอเจ้าชายอายุได้ ๗ ปีกว่าๆ กำลังอยู่ในวัยเด็ก ทำให้พระราชาทรงวิตกว่าคำทำนายเป็นจริงจะทำอย่างไร ทรงกลัวจะเสียพระโอรสไป จึงปรึกษากับโหรหลวงว่าจะทำเช่นใด แล้วทรงปรึกษาพระเถระแห่งลังกาจำนวน ๑๔ รูป ว่าจะหลีกเลี่ยงภัยอันตรายนี้ได้เช่นใด พระเถระเจ้าได้ประชุมปรึกษาหารือกันจนเป็นที่แน่ใจว่าจะแต่งคาถาขึ้นมา ข้อสรุปออกมาว่าตั้งพิธีที่ชั้น ๗ ของปราสาทนั้นแห่งกษัตริย์เมืองลังกา พระเถระได้แบ่งหน้าที่กันเป็น ๑๔ รูป ช่วยกันแต่งคนละ ๑ บท โดยไม่นัดหมายกันว่าจะแต่งคาถาอย่างไร และกำหนดโดยให้พระสงฆ์แต่ละรูป ไปนั่งแต่งพระคาถาที่หน้าต่าง ปล่องเบ็งจรเมื่อนำเอาบทสวด ๑๔ บทมารวมเข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า เชยฺยเบงชรต่อมาก็เปลี่ยนไปเป็น ชัยเบงชรเมื่อรวมพระคาถาแล้ว พระราชาทรงบูชาด้วยอามิส อาสนะ  ฉัตร  พัด  ช่อ  ธง เทียนธูป  ประทีป  ข้าวตอกดอกไม้ แล้วให้พระโอรสในพระองค์เรียนและสวดท่องทุกวัน
                      ครั้งถึงกำหนดคำทำนาย คือ ๗ ปี และ ๗ เดือนพอดี วันนั้นฟ้าได้ผ่าลงมาจริงตามคำทำนาย แต่ว่าไม่โดนพระโอรส กลับไปโดนก้อนหินทางทิศตะวันตกของพระโอรสจึงไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ต่อแต่นั้นมาพระโอรสก็ได้เสวยสมบัติเป็นพระราชาต่อจากบิดา แล้วยังอายุยืน ปกครองบ้านเมืองอย่างผาสุก จนคาถานี้ได้เผ่ยแผ่ถุกนำเข้ามาในดินแดนล้านนาตั้งแต่นั้นมา

ตำนานนี้คือความเป็นมาของพระคาถาไชยเบงชร หรือ ชินบัญชรล้านนา
                      คาถาชินบัญชรเกิดขึ้นที่ประเทศลังกา  ตามประวัตินิทานในใบลานกกล่าวไว้ว่า  มีพระราชาของลังกาพระองค์หนึ่ง  ทรงมีโอรสกับพระมเหสี  จึงเป็นที่ปลาบปลื้มพระทัยของพระองค์ยิ่งนัก  หลังจากนั้นจึงให้หมอโหรทายทักดวงชะตาของพระโอรส  หมอโหรได้ตรวจดูดวงชะตาราศีแล้วทายทักว่า  เมื่อพระโอรสมีพระชนมายุได้  ๗  ปีกับอีก  ๗  เดือน  จะถูกฟ้าผ่าถึงแก่สวรรคต  ในตอนแรกพระราชาก็คงไม่ทรงเชื่อมากนัก  อยู่ต่อมาจนกระทั่งอายุของพระโอรสได้  ๗  ปีกว่าๆ แต่ยังไม่ถึงกว่า  ๗  เดือน  พระโอรสกำลังน่ารัก  พระองค์จึงเกิดการปริวิตกพระทัย  คิดว่าถ้าเกิดเหตุจริงตามที่หมอโหรได้ทายไว้  จะเสียพระโอรสไป  จึงได้ทรงปรึกษาข้อปริวิตกเรื่องนี้แก่พระสงฆ์เถระในลังกา  เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงภัยอันจะเกิดขึ้นแก่ราชโอรส  พระเถระชาวลังกาจำนวน ๑๔ รูป  จึงได้ประชุมตกลงกันจะประกอบพิธีขึ้นที่ปราสาทของกษัตริย์ลังกาชั้นที่  ๗  โดยพระสงฆ์ทั้ง  ๑๔  รูปได้แบ่งหน้าที่กัน  โดยให้แต่ละรูปแต่งคาถาขึ้นรูปละ  ๑  บท  และที่สำหรับแต่งคาถานั้นอยู่ใกล้กับป่องบัญชร  คาถานั้นจึงได้ชื่อว่า  ชัยบัญชร  เมื่อแต่งคาถาเสร็จแล้วมีจำนวน  ๑๔  บท  จึงให้พระราชาบูชาด้วยอามิสต่างๆ เช่นอาสนะ  ฉัตร  พัด  ช่อ  ธง เทียนธูป  ประทีป  ข้าวตอกดอกไม้เป็นต้น  แล้วให้พระโอรสเรียนเอาคาถานั้นท่องบ่นทุกวัน เมื่อถึงกำหนดวันที่โหรได้ทำนายไว้  คืออายุพระโอรสครบ  ๗  ปี  กับ  ๗  เดือน  ฟ้าได้ผ่าลงมาจริง  แต่ไม่ถูกพระโอรส  แต่ผ่าถูกหินก้อนหนึ่ง  อยู่ทางทิศตะวันตกเมืองลังกา  พระโอรสจึงได้แคล้วคลาดจากภัยในครั้งนั้น  เชื่อว่าเป็นเพราะพระโอรสได้ท่องบ่นคาถาที่พระสงฆ์ทั้ง  ๑๔  รูปแต่งขึ้นนั้นเอง  และนอกจากนั้นยังทำให้พระโอรสมีอายุยืนยาวได้สืบต่อราชสมบัติแทนพระราชบิดา  ปกครองบ้านเมืองด้วยความผาสุกจนสิ้นอายุขัย

ตำนานหนึ่ง
                  เมื่อ  พ.ศ. ๑๙๘๑  พระเถระชื่อ  ชัยมังคละ จังหวัดลำพูนไปแสวงบุญที่ประเทศลังกาได้คาถาชินบัญชรจำนวน  ๑๔ บทเมื่อกลับมาถึงลำพูนจึงได้นำพระคาถานี้ถวายแด่พญาติโลกราช  กษัตริย์เมืองเชียงใหม่เพื่อสวดภาวนาให้แคล้วคลาดภัยทั้งปวงตามเนื้อหาสรุป  ดังนี้
               ”พระคาถาชินเบ็งจร เกิดขึ้นในประเทศลังกา  ประวัติในใบลานกล่าวว่า พระราชาพระองค์หนึ่งมีพระโอรสกำเนิดใหม่  ทรงให้หมอโหรมาทำนายดวงชะตาโอรสน้อย หมอโหรทำนายว่าหากโอรสอายุได้   ๗  ปี   ๗ เดือนจะถูกฟ้าผ่า   พระราชาทรงตกพระทัยจึงทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับพระสงฆ์ หมู่สงฆ์จึงแนะนำว่าควรแต่งพระคาถาขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์

                 เมื่อตกลงกันแล้วพระสงฆ์จำนวน  ๑๔  รูปจึงประชุมและแบ่งหน้าที่กันประกอบพิธีแต่งพระคาถารูปละ  ๑  บท  โดยให้พระสงฆ์แต่ละรูป ไปนั่งแต่งพระคาถาที่หน้าต่างปล่องเบ็งจร  หรือบัญชรในภาษาไทยกลาง เมื่อแต่งเสร็จพระคาถานี้จึงได้ชื่อว่า ชัยเบ็งจร  (อ่านว่า ไจ-ยะ-เบ็ง-จ๋อน )  หมายถึงความมีชัยชนะได้ ๑๔ บท  ตามจำนวนของพระสงฆ์ที่นั่งริมเบ็งจรหรือริมหน้าต่างเพื่อให้มีแสงสว่างในการเขียนพระคาถานั่นเอง   เมื่อโอรสมีพระชนมายุครบ ๗ ปี ๗ เดือน ฟ้าผ่าลงจริง แต่พลาดไปถูกหินก้อนใหญ่ทางตะวันตกเมืองลังกา  พระโอรสปลอดภัย   ผู้คนจึงนิยมนำพระคาถานี้มาสวดกันต่อๆมา  แม้กระทั่งในเมืองไทยปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น