คาถาอีกาวิดน้ำ (คาถาทวงหนี้ ตามหาของหาย)


คาถาอีกาวิดน้ำ
คาถาทวงหนี้ ตามหาของหาย
          ความพอใจในสิ่งที่ตนมี ชีวิตก็จะเป็นสุข เมื่อใดที่ตัณหาเข้าครอบงำ เกิดความอยากได้ อยากมี ในวัตถุสิ่งของหรือทรัพย์สินจนเกินตัว ทำให้ผู้คนกู้หนี้ยืมสิน เมื่อผู้ยืมให้ยืมแล้วผู้คืนกลับไม่คืน ผู้ให้ยืมบ้างเดือดร้อน บ้างไม่เดือดร้อน เช่นนั้นมีชาดกเรื่องกาใช้ปากวิดน้ำทะเล กาเหล่านั้นลุ่มหลงในตัณหาทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ครูบาอาจารย์จึงนำเกล็ดอรรกถาวรรคนี้มาเป็นคาถาเตือนสติ และได้กลายมาเป็นคาถาทวงหนี้
                  อปิ  นุ  หนุกา  สนฺตา                        มุขญฺจ  ปริสุสฺสติ  
                  โอรมาม    ปาเรม                           ปูรเตว  มโหทธีติ
                  อะปิ นุ หะนุกา สันตา                      มุ ขัน จะ ปะริสุดสะติ
                        โอระมามะ นะ ปาเรมะ                   ปูระเตวะ มะโห ทะทีติ
คำแปล “เออหนอ ขาตะไกรของพวกเราล้าเสียแล้ว และปากเล่าก็ซีดเซียว พวกเราพากันวิดอยู่ ไม่ทำให้สมุทรเหือดแห้งได้ ดูเถอะ ห้วงน้ำใหญ่คงเต็มอย่างเดิม"
อุปเทย์  ท้องทะเลสุดกว้างใหญ่คณานับ   อีกากลับอมน้ำวิดข้ามฝั่ง
            บินรอบแล้วรอบเล่าสุดกำลัง          ปากที่งับเมื่อยล้าสุดจะทน
            จึงเอ๋ยเอื่อนวจีมีละล้า                      ด้วยวาจาวิเศษมีเหตุผล
            เราจักวิดน้ำทะเลอยู่เวียนวน           อีกกี้หนน้ำมิแห้งยังคงเต็ม
            เราจงทิ้งความคิดนี้กันเสียเทิด        จะบังเกิดความสวัสดีมีสุขสันต์
            ถ้าลุ่มหลงไร้ประโยชน์ไปวันๆ      แล้วจะพลันพ้นทุกข์ได้เช่นใด
            จงสวดพร่ำทุกค่ำเช้า                        หยิบเม็ดข้าวสารจากถัง
            วางข้าวไว้พานอย่างระวัง               หนึ่งจบครั้งวางเม็ดสำเร็จกล
            พร่ำบ่นไว้ขึ้นใจในคาถา                 เพียรสวดช้านานกาลเลยจัดให้ผล
            ข้าวเป็นกำกอปกองครองคน          นำไปพร่นโปรยไว้บ้านลูกหนี้
            สุ่มควันธูปควันกำยาน                     เผาผลาญเทียนไหม้ให้เห็น
            สวดพร่ำย่ำยามความเป็น                แล้วเข็นโยนหินลงบึง
            รำพึงคาถาร่ำไป                                สวดไว้อาจิณเป็นผล
            ไม่คืนคนยืมร้อนรน                         ใจจนร้อนรุ่มร่ำไป
            ไม่คืนทำกิจไม่ขึ้น                            เหมือนฟื้นเปียกชื้นไม่ไหม้
            อับจนหนทางสิ้นไป                        นานไปต้องหามาคืน
            เพียงคืนจักพ้นคาถา                         เงินตราไหลมาอย่างฝัน
            ร่ำรวยงอกเงยทุกวัน                         หมดหนี้โดยพลันทันใดฯ

            นำเทียนธูปข้าวตอกดอกไม้             จุดไหว้บูชาฝั่งน้ำ
            เทวดาอารักษ์ทราบความ                 ช่วยตามถามของกลับมา
            ของหายตามทางนอกบ้าน               จุดธูปกรานกราบสามแพร่ง
            สวดมนต์คาถาสำแดง                      แถลงตามของกลับคืน
            ได้คืนสำเร็จบัตรพลี                         วันดีทำบุญไปให้
            เทวดาอารักษ์ตนใด                          ช่วยหาของหายกลับคืน
    



กาใช้ปากวิดน้ำทะเล (กากชาตกํ)

                                     อปิ  นุ  หนุกา  สนฺตา                        มุขญฺจ  ปริสุสฺสติ  
                       โอรมาม  น  ปาเรม                           ปูรเตว  มโหทธีติ
อรรถกถา กากชาดก
ว่าด้วย กาวิดน้ำด้วยปาก
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุแก่ๆ หลายรูปด้วยกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปิ นุ หนุกา สนฺตา ดังนี้.
               ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้งเป็นคฤหัสถ์ เป็นกุฏุมพีในเมืองสาวัตถี มั่งมีทรัพย์ เป็นสหายกัน ทำบุญร่วมกัน ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว พากันดำริว่า พวกเราเป็นคนแก่ จะมีประโยชน์อะไรแก่พวกเราด้วยการอยู่ครองเรือน พวกเราจักบวชในพระพุทธศาสนาอันเป็นที่น่ายินดี ในสำนักของพระศาสดา จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้ แล้วต่างยกสมบัติทั้งปวงให้แก่ลูกหลานเป็นต้น ละหมู่ญาติผู้มีน้ำตานองหน้าเสีย ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา และครั้นบวชแล้ว มิได้ชักชวนกันบำเพ็ญสมณธรรม อันสมควรแก่บรรพชา แม้พระธรรมก็ไม่ศึกษา เพราะความเป็นคนแก่ ถึงจะบวชแล้ว ก็เหมือนในครั้งที่ยังเป็นคฤหัสถ์ ให้คนสร้างบรรณศาลาไว้ท้ายวิหาร คงรวมกันอยู่นั่นแล แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาตก็ไม่ไปที่อื่น โดยมากชวนกันไปฉันที่บ้านบุตรภรรยาของตนนั่นแหละ
               ในบรรดาคนเหล่านั้น ภรรยาเก่าของพระเถระแก่รูปหนึ่ง ได้มีอุปการะแก่พระเถระแก่ๆ แม้ทั้งปวง เหตุนั้น แม้พระเถระที่เหลือต่างก็ถืออาหารที่ตนได้ มานั่งฉันในเรือนของของนางเพียงผู้เดียว.
               ฝ่ายนางเล่าก็ถวายต้มแกงตามที่ตนจัดไว้ แก่พระเถระเหล่านั้น นางป่วยด้วยอาพาธอย่างหนึ่ง ทำกาละแล้ว.
               ครั้งนั้นพระเถระแก่ๆ เหล่านั้นพากันไปสู่วิหาร กอดคอกัน เที่ยวร้องไห้อยู่ท้ายวิหารว่า อุบาสิกาผู้มีรสมืออร่อย ตายเสียแล้ว ฝ่ายภิกษุทั้งหลายฟังเสียงของพระเถระเหล่านั้นแล้ว ก็มาประชุมกันจากที่ต่างๆ ถามว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึงร้องไห้ พระเถระเหล่านั้นตอบว่า ภรรยาเก่าแห่งสหายของพวกกระผม ผู้มีรสมืออร่อยตายเสียแล้ว นางมีอุปการะแก่พวกผมยิ่งนัก ทีนี้จักหาที่ไหนได้เหมือนนางเล่า เหตุนี้พวกผมจึงพากันร้องไห้.
               ภิกษุทั้งหลายเห็นข้อวิปริตนั้นของพระเถระเหล่านั้นแล้ว พากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุชื่อนี้ พระเถระแก่ๆ ทั้งหลายกอดคอกันเที่ยวร้องไห้อยู่แถวท้ายวิหาร พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ภิกษุเหล่านั้นพากันเที่ยวร้องไห้ เพราะหญิงนั้นตายลง แม้ในครั้งก่อน ภิกษุเหล่านี้อาศัยหญิงนี้ผู้เกิดในกำเนิดกา แล้วตายเสียในสมุทรร่วมคิดกันว่า พวกเราจักวิดน้ำในสมุทร นำนางขึ้นมาให้จงได้ ดังนี้ พากันเพียรพยายาม เพราะได้อาศัยบัณฑิต จึงได้มีชีวิตอยู่ได้ดังนี้แล้ว ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
               ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเทวดารักษาสมุทร ครั้งนั้น กาตัวหนึ่งพานางกาผู้ภรรยาของตน เที่ยวแสวงหาเหยื่อได้ไปถึงฝั่งสมุทร กาลนั้นฝูงชนพากันกระทำพลีกรรมแก่พญานาค ด้วยน้ำนม ข้าวปายาส ปลา เนื้อและสุราเป็นต้น แล้วพากันหลีกไป.
               ครั้งนั้น กาตัวหนึ่งไปถึงที่พลีกรรม เห็นน้ำนมเป็นต้น ก็พร้อมด้วยนางกากินน้ำนม ข้าวปายาส ปลาและเนื้อเป็นต้น แล้วดื่มสุราเข้าไปมาก กาผัวเมียทั้งคู่ ต่างเมามายสุรา คิดจะเล่นสมุทรกรีฑา เกาะที่ชายหาดทราย หมายใจจะอาบน้ำ ทีนั้นคลื่นลูกหนึ่งซัดมา พาเอานางกาเข้าไปเสียในสมุทร ปลาตัวหนึ่งจึงฮุบนางกานั้น กลืนกินเสีย การ้องไห้รำพันว่า เมียของเราตายเสียแล้ว ครั้นกามากด้วยกัน ได้ยินเสียงร่ำไห้ของมัน ก็มาประชุมกันถามว่า เจ้าร้องไห้เพราะเหตุไร? มันบอกว่า หญิงสหายของพวกท่านกำลังอาบน้ำอยู่ที่ชายหาด โดนคลื่นซัดไปเสียแล้ว กาเหล่านั้นแม้ทุกตัวก็ร้องเอ็ดอึงเป็นเสียงเดียวกัน ครั้งนั้นฝูงกาเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า น้ำในสมุทรนี้ จะสำคัญกว่าพวกเราหรือ พวกเราช่วยกันวิดน้ำให้แห้ง ค้นเอาหญิงสหายออกมาให้ได้.
               กาเหล่านั้นช่วยกันอมน้ำเค็มปากทีเดียว เอาไปบ้วนทิ้งเสียข้างนอก และเมื่อคอแห้งเพราะน้ำเค็มก็พากันขึ้นไปบนบก พวกมันครั้นขาตะไกรล้า ปากซีด ตาแดง ก็อิดโรยไปตามกัน จึงเรียกกันมาปรับทุกข์ว่า ชาวเราเอ๋ย พวกเราพากันอมน้ำจากสมุทรไปทิ้งข้างนอก ที่ที่เราอมน้ำไปแล้ว กลับเต็มไปด้วยน้ำเสียอีก พวกเราคงไม่สามารถทำให้สมุทรแห้งเป็นแน่ ดังนี้แล้ว
               กล่าวคาถานี้ ความว่า
               "เออหนอ ขาตะไกรของพวกเราล้าเสียแล้ว และปากเล่าก็ซีดเซียว พวกเราพากันวิดอยู่ ไม่ทำให้สมุทรเหือดแห้งได้ ดูเถอะ ห้วงน้ำใหญ่คงเต็มอย่างเดิม" ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ นุ หนุกา สนฺตา ความว่า เออ ก็คางของเราเมื่อยล้าแล้ว.
               บทว่า โอรมาม น ปาเรม ความว่า พวกเราพากันอมน้ำจากมหาสมุทร ไปทิ้งตามกำลังของตน ก็ไม่อาจทำให้เหือดแห้งได้ เพราะห้วงน้ำใหญ่คงเต็มเหมือนเดิมนั่นเอง.
               ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว กาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก็ต่างพูดพร่ำเพ้อมากมายว่า จะงอยปากของนางกานั้น งดงามเห็นปานนี้ ตากลมอย่างนี้ ผิวพรรณทรวดทรงงามระหงอย่างนี้ เสียงเพราะปานนี้ เพราะอาศัยสมุทรผู้เป็นโจรนี้ นางกาของพวกเราหายไปแล้ว เทวดาประจำสมุทร สำแดงรูปน่าสะพึงกลัว ไล่ฝูงกาที่กำลังร้องรำพันพร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้ ให้หนีไป ความสวัสดีได้มีแก่ฝูงกานั้นด้วยประการฉะนี้.
               พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
               นางกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภรรยาเก่านี้
               กาได้มาเป็นพระเถระแก่ ฝูงกาที่เหลือได้มาเป็นพระเถระแก่ๆ ที่เหลือ
               ส่วนเทวดารักษาสมุทร ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.   

 กากชาตกํ
     อปิ นู หนุกา สนฺตาติ อิทํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต สมฺพหุเล
มหลฺลเก ภิกฺขู อารพฺภ กเถสิ ฯ
     เต กิร คิหิกาเล สาวตฺถิยํ กุฏุมฺพิกา อฑฺฒา มหทฺธนา
อญฺญมญฺญสหายกา เอกโต หุตฺวา ปุญฺญานิ กโรนฺตา สตฺถุ
ธมฺมเทสนํ สุตฺวา มยํ มหลฺลกา กินฺโน ฆราวาเสน สตฺถุ
สนฺติเก รมณีเย พุทฺธสาสเน ปพฺพชิตฺวา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสามาติ
สพฺพํ สาปเตยฺยํ ปุตฺตนตฺตาทีนํ ทตฺวา อสฺสุมุขํ ญาติสงฺฆํ ปหาย
สตฺถารํ ปพฺพชฺชํ ยาจิตฺวา ปพฺพชึสุ ปพฺพชิตฺวา จ ปน
ปพฺพชฺชานุรูปํ สมณธมฺมํ น กรึสุ มหลฺลกภาเวน ธมฺมมฺปิ น ปริยาปุณึสุ
คิหิกาเล วิย ปพฺพชิตกาเลปิ วิหารปริยนฺเต ปณฺณสาลํ กาเรตฺวา
เอกโตว วสึสุ ปิณฺฑาย จรนฺตาปิ อญฺญตฺถ อคนฺตฺวา เยภุยฺเยน
อตฺตโน ปุตฺตทารสฺเสว เคหํ คนฺตฺวา ภุญฺชึสุ ฯ เตสุ เอกสฺส
ปุราณทุติยิกา สพฺเพสํปิ มหลฺลกตฺเถรานํ อุปการิกา อโหสิ ฯ
ตสฺมา เสสาปิ อตฺตนา ลทฺธมาหารํ คเหตฺวา ตสฺสาเยว เคเห
นิสีทิตฺวา ภุญฺชนฺติ ฯ สาปิ เตสํ ยถาสนฺนิหิตํ สูปพฺยญฺชนํ เทติ ฯ
สา อญฺญตเรน อาพาเธน ผุฏฺฐา กาลมกาสิ ฯ อถ เต
มหลฺลกตฺเถรา วิหารํ คนฺตฺวา อญฺญมญฺญํ คีวาสุ คเหตฺวา
มธุรหตฺถรสา อุปาสิกา กาลกตาติ วิหารปจฺจนฺเต โรทนฺตา วิจรึสุ ฯ
เตสมฺปน สทฺทํ สุตฺวา อิโต จิโต จ ภิกฺขู สนฺนิปติตฺวา อาวุโส
กสฺมา โรทถาติ ปุจฺฉึสุ ฯ เต อมฺหากํ สหายสฺส ปุราณทุติยิกา
มธุรหตฺถรสา กาลกตา อมฺหากํ อติวิย อุปการกา อิทานิ กุโต
ตถารูปํ ลภิสฺสาม อิมินา การเณน โรทิมฺหาติ อาหํสุ ฯ เตสํ
ตํ วิปฺปการํ ทิสฺวา ภิกฺขู ธมฺมสภายํ กถํ สมุฏฺฐาเปสุง อาวุโส
อิมินา นาม การเณน มหลฺลกตฺเถรา อญฺญมญฺญํ คีวาสุ คเหตฺวา
วิหารปจฺจนฺเต โรทนฺตา วิจรนฺตีติ ฯ สตฺถา อาคนฺตฺวา กาย
นุตฺถ ภิกฺขเว เอตรหิ กถาย สนฺนิสินฺนาติ ปุจฺฉิตฺวา อิมาย
นามาติ วุตฺเต น ภิกฺขเว อิทาเนว เต ตสฺสา กาลกิริยาย
โรทนฺตา วิจรนฺติ ปุพฺเพเปเต อิมํ กากโยนิยํ นิพฺพตฺติตฺวา สมุทฺเท
มตํ นิสฺสาย สมุทฺทา อุทกํ อุสฺสิญฺจิตฺวา เอตํ นีหริสฺสามาติ
วายมนฺตา ปณฺฑิเต นิสฺสาย ชีวิตํ ลภึสูติ วตฺวา อตีตํ อาหริ ฯ
     อตีเต พาราณสิยํ พฺรหฺมทตฺเต รชฺชํ กาเรนฺเต โพธิสตฺโต
สมุทฺทเทวตา หุตฺวา นิพฺพตฺติ ฯ อเถโก กาโก อตฺตโน ภริยํ
กากึ อาทาย โคจรํ ปริเยสมาโน สมุทฺทตีรํ อคมาสิ ฯ ตสฺมึ
กาเล มนุสฺสา สมุทฺทตีเร ขีรปายาสมจฺฉมํสสุราทีหิ นาคพลิกมฺมํ
กตฺวา ปกฺกมึสุ ฯ อเถโก กาโก พลิกมฺมฏฺฐานํ คนฺตฺวา ขีราทีนิ
ทิสฺวา สทฺธึ กากิยา ขีรปายาสมจฺฉมํสาทีนิ ปริภุญฺชิตฺวา พหุง
สุรํ ปิวิ ฯ เต อุโภ สุรามทมตฺตา สมุทฺทกีฬํ กีฬิสฺสามาติ
เวลนฺเต นิสีทิตฺวา นฺหายิตุง อารภึสุ ฯ อเถกา อุมฺมิ อาคนฺตฺวา
กากึ คเหตฺวา สมุทฺเท ปเวเสสิ ฯ ตเมโก มจฺโฉ สํหริตฺวา
อชฺโฌหริ ฯ กาโก ภริยา เม มตาติ โรทิ ปริเทวิ ฯ อถสฺส
ปริเทวนสทฺทํ สุตฺวา พหู กากา สนฺนิปติตฺวา กึการณา โรทสีติ
ปุจฺฉึสุ ฯ สหายิกา โว เวลนฺเต นฺหายมานา อุมฺมิยา หฏาติ ฯ
เต สพฺเพปิ เอกรวํ รวนฺตา โรทึสุ ฯ อถ เนสํ เอตทโหสิ อิมํ
สมุทฺทูทกํ นาม อมฺหากํ กึ ปโหสิ อุทกํ อุสฺสิญฺจิตฺวา สมุทฺทํ
ตุจฺฉํ กตฺวา สหายิกํ นีหริสฺสามาติ ฯ เต มุขํ ปูเรตฺวาว อุทกํ
พหิ ฉฑฺเฑนฺติ โลณูทเกน จ คเล สุสฺสมาเน อุฏฺฐายุฏฺฐาย ถลํ
คนฺตฺวา วิสฺสมนฺติ ฯ เต หนูสุ กิลมนฺเตสุ มุเขสุ สุกฺขนฺเตสุ
อกฺขีสุ รตฺเตสุ กิลมนฺตา หุตฺวา อญฺญมญฺญํ อามนฺเตตฺวา อมฺโภ
มยํ สมุทฺทา อุทกํ คเหตฺวา พหิ ปาเตม คหิตคหิตฏฺฐานํ ปุน
อุทเกน ปูเรติ สมุทฺทํ ตุจฺฉํ กาตุง น สกฺขิสฺสามาติ วตฺวา อิมํ
คาถมาหํสุ
         อปิ นู หนุกา สนฺตา   มุขญฺจ ปริสุสฺสติ
         โอรมาม น ปาเรม   ปูรเตว มโหทธีติ ฯ
     ตตฺถ อปิ นู หนุกา สนฺตาติ อปิ อมฺหากํ หนุกา กิลนฺตา ฯ
โอรมาม น ปาเรมาติ มยํ อตฺตโน พเลน มหาสมุทฺทา อุทกํ
อากฑฺฒมานา โอสาเรม ตุจฺฉํ ปน นํ กาตุง น สกฺโกม อยญฺหิ
ปูรเตว มโหทธีติ ฯ
     เอวญฺจ ปน วตฺวา สพฺเพปิ เต กากา ตสฺสา กากิยา
เอวรูปนฺนาม ตุณฺฑํ อโหสิ เอวรูปานิ วฏฺฏกฺขีนิ เอวรูปํ
ฉวิสณฺฐานํ เอวรูโป มธุรสทฺโท สา โน อิมํ โจรสมุทฺทํ นิสฺสาย
นฏฺฐาติ พหุง วิปฺปลปึสุ ฯ เต เอวํ วิปฺปลปมาเน สมุทฺทเทวตา
เภรวรูปํ ทสฺเสตฺวา ปลาเปสิ ฯ เอวํ เตสํ โสตฺถิ อโหสิ ฯ
     สตฺถา อิมํ ธมฺมเทสนํ อาหริตฺวา ชาตกํ สโมธาเนสิ ตทา
กากี อยํ ปุราณทุติยิกา อโหสิ กาโก มหลฺลกตฺเถโร เสสกากา
เสสมหลฺลกตฺเถรา สมุทฺทเทวตา ปน อหเมวาติ ฯ
                     กากชาตกํ ฉฏฺฐํ ฯ

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบพระคุณมากครับ ท่านอาจารย์ ขอบพระคุณในความใจกว้าง และเสียสละที่นำความรู้เหล้านี้มาเผยแพร่ให้ผู้สนใจศึกษาอย่างผมได้ศึกษาครับ ขอสิ่งดีงามจงบังเกิดมีต่ออาจารย์และครอบครัวครับ
    🙏

    ตอบลบ