ดอกมะลิ สัญลักษณ์วันแม่

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่

            ในช่วงชีวิตของเราชาวไทยต้องคุ้นเคยกันดีกับดอกมะลิ ส่วนน้อยมากๆที่จะไม่รู้จักดอกมะลิ ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีว่าดอกมะลิเป็นดอกไม้สีขาว และกลิ่นหอมเฉพาะตัวของดอกมะลิ แม้จะไม่เห็นดอกมะลิเพียงได้กลิ่นก็รู้ในทันทีว่ากลิ่นดอกมะลิ เท่าที่เราเป็นประโยชน์คงจะเป็นพวงมาลัยดอกมะลิที่ใช้ไหว้พระ  ไหว้แม่  แขวนหน้ารถบ้าง  ไหว้ศาลพระพรหมระภูมิบ้างอะไรบ้าง แหล่งที่ขายพวงมาลัยดอกมะลิมักจะมีตามร้านดอกไม้ ตลาดดอกไม้ ตลาดนัดทั่วไป  ข้างถนนแม้แต่เดินเร่ขายกลางถนนพร้อมกับหนังสือพิมพ์ยังมีให้เห็น
                        มะลิ คำสุภาพเรียกว่า มัลลิกา ในภาษาอักฤษ Jasmine ลักษณะโดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง พบในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แน่นอนว่าพบในประเทศไทย ต้นมะลิบางพันธ์จะขึ้นเป็นพุ่ม บางพันธ์จะเลื้อย ความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีการแตกตาอ่อนตามซอกใบและข้อปล้อง ทำให้มีกิ่งก้านสาขาไปรอบๆต้น ใบเดี่ยวผิวเรียบสีเขียวเข้มรูปร่างป้อมมนปลายแหลมออกเป็นคู่ตรงข้าม และสลับหว่างกันในแต่ละชั้นตามก้านและกิ่ง ดอกออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามยอดและงามใบ มีสีขาว กลิ่นหอมเฉพาะตัว กลีบดอกออกเรียงกันเป็นวง แต่ละพันธ์มีจำนวนชั้นของดอกต่างกัน ผลกลมรีเมื่อสุกจะเป็นสีดำในผมมี 1 เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในแสงแดดจัดกลางแจ้ง ขยายพันธ์ด้วยการปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ ชอบน้ำและดินร่วนซุย
                        องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยของมะลิ benzyl alcohol, benzyl acetate,   jasmine lactone, methyl jasmonte, geraniol, jasmine, jasmone, methyl benzoate, caryophyllene, cadinene, hexenyl benzoate
, etc.
                        องค์ประกอบทางเคมีใน ใบ และลำต้นของมะลิลา triterpenoid, flavonoid,  irridoid glycoside เช่น sambacin, jasminin, quercetin, isoquercetin, rutin, kaempferol-3-rhamnooglycoside, linalool, sambacoside A, E, F, methyl benzoate, benzyl acetate, methyl salicylate, myrcene, d-fenchene, limonene, cis-linalool oxide, trans-3-hexenyl butyrate , etc.



                        คติโบราณการปลูกมะลิ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นนั้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรีที่สูงอายุ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงและยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั่วไป


พันธ์ของมะลิ

1.มะลิลา

            มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย

2.มะลุลี


            มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
มะลิถอดลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.

3.มะลิซ้อน

            มะลิซ้อน (Grand Duke of Tuscany) ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก

4.มะลิฉัตร

            มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม

5. มะลิทะเล 
              มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน

6. มะลิพวง (Angelwing jasmine)


7. มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine) 


                มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine) ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอม

8. พุทธชาด (Star jasmine) 



                      พุทธชาด (Star jasmine) หรือ บุหงาประหงัน เป็นไม้กึ่งยืนต้นกึ่งเลื้อย มีขนาดต้นสูง 1-2 เมตร ขนาดใบยาว ซม. ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกขนาดเล็กสีขาว กว้าง 1.5 ซม. ดอกดกออกเป็นช่อ ดอกมี กลีบหรือ กลีบ มีกลิ่นหอมแรงมากในเวลากลางคืน ดอกบานไม่พร้อมกัน ดอกดกและออกดอกตลอดปี

9. มะลิเฉลิมนรินทร์ (Jasminum bhumibolianum Chalermglin)
                       มะลิเฉลิมนรินทร์ (Jasminum bhumibolianum Chalermglinเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทยที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ จัดอยู่ในสกุลมะลิ วงศ์มะลิ  มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากมะลิพื้นเมืองและมะลิชนิดอื่น ๆ คือ  เป็นไม้เถาเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตร  กิ่งยอดเรียวเล็ก  ใบหนา  เหนียวสีเขียวเข้มเป็นมัน ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งยอดหรือปลายกิ่งข้าง มีดอกย่อย 7-13 ดอก มีกลีบเลี้ยง แหลม หนาแข็ง ขนาดใหญ่จำนวน 4-5 ซี่ รองรับดอกสีขาวที่มีกลีบดอก 6-8 กลีบ และมีกระเปาะเกสรเพศผู้สีเหลืองเด่นชัด มีผลกลมรี 1-2 ผล เมื่อสุกมีสีดำ ออกดอกบานในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน  ส่งกลิ่นหอมแรง มีผลแก่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม  เป็นมะลิที่เจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับมะลิชนิดอื่น ๆ ในโลก 


ประโยชน์ของมะลิ
            - ดอกมะลิ เป็นไม้ดอกจัดสวน ประดับตกแต่ง และเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่


            - ดอกมะลิ ใช้ร้อยมาลัย สำหรับงานต่างๆ เช่นบูชาพระ หรือ ไหว้แม่ เป็นต้น


            - ดอกมะลิ ใช้ทำเครื่องหอม สกัดน้ำมันหอมระเหย ในอุตสากรรมน้ำหอม


            - ดอกมะลิ ใช้ประกอบอาหาร เช่นข้าวแช่ น้ำลอยดอกมะลิใช้แต่งกลิ่นขนม หรือ ใช้เป็นเครื่องดื่ม


            - ดอกมะลิ สดหรือตากแห้งทำเป็นชาดอกมะลิ หรือใช้แต่งกลิ่นชาเขียว





สรรพคุณ
                        ดอกมะลิจัดอยู่ในยาพิกัดเกสรทั้ง 5 , ทั้ง 7, ทั้ง 9 รสหอมเย็น สรรพคุณใช้บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น จิตใจชุ่มชื่น ผ่อนคลายบรรเทาความเครียด ช่วยให้หลับง่าย มีฤทธิ์สงบประสาทเป็นยานอนหลับถ้าใช้ปริมาณมากอาจถึงขั้นสลบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ  แก้ลมวิงเวียน
            ใบ ราก - ทำยาหยอดตา
            ใบ - แก้ไข้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ขับน้ำนม รักษาโรดผิวหนัง หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
            ราก - แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ นำรากมาฝนกินกับน้ำใช้แก้ร้อนใน คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้



                                              สุดท้ายนี้ดอกมะลิประดิษฐ์ดินปั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น