ตำราเศษพระจอมเกล้า

ตำราเศษพระจอมเกล้า

                         ตำราเศษพระจอมเกล้านี้ ตามชื่อตำราว่าเศษพระจอมเกล้า ซึ่งมีนัยความหมายถึงพระนามของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักปราชญ์ทางด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
                         ครั้งหนึ่งในรัชสมัยของพระองค์ ที่ทรงออกผนวช ทรงศึกษาพระธรรมจนแตกฉานเรื่อง ธรรมะไว้มาก เมื่อพระองค์ทรงแต่งตำรานี้ พระองค์คทรงนำเอาธรรมะบท มาใช้เป็นแนวทางอีกด้วย
                         การจักพยากรณ์ตามตำราเศษพระจอมเกล้า พึ่งใช้ในผู้ที่จักทำนายชีวิตกาลกำเนิดและจักต้องรู้ในส่วนแขนงย่อยอื่นจักต้องเป็นยามตกฟาก เพื่อนำเอามาประกอบการคำนวณให้แม่นหมายกว่าการทำนายตามที่รัชกาลที่ ๔ ทรงได้แต่งตำรานี้ขึ้นมา ด้วยเหตุหนึ่งในผู้คนหรือพราหมณ์ นักพยากรณ์ นักโหราศาสตร์โดยทั่วไปใช้เพียงตำราเศษพระจอมเกล้าเท่านั้นก็พอจักแจ้งถึงความแม่นยำได้แล้ว แต่หากบุคคลที่รู้แจ้งเจนถึงตำรานี้ จักกอปรด้วย ยามตกฟาก แลอันหนึ่งต้องมีภูมิทางพระธรรมบท เป็นเบื้องต้นจึงใช้ตำรานี้ได้โดยสมบรูณ์ 
 วัน
วันอาทิตย์มีค่าเท่ากับ ๑
วันจันทร์ มีค่าเท่ากับ ๒
วันอังคาร มีค่าเท่ากับ ๓
วันพุธ(กลางวันและกลางคืน) มีค่าเท่ากับ ๔
วันพฤหัสบดี มีค่าเท่ากับ ๕
วันศุกร์ มีค่าเท่ากับ ๖
วันเสาร์ มีค่าเท่ากับ ๗
๑๒ เดือน
เดือน ธันวาคม มีค่าเท่ากับ ๑
เดือน พฤศจิกายน มีค่าเท่ากับ ๑๒
เดือน ตุลาคม มีค่าเท่ากับ ๑๑
เดือน กันยายน มีค่าเท่ากับ ๑๐
เดือน สิงหาคม มีค่าเท่ากับ ๙
เดือน กรกฎาคม มีค่าเท่ากับ ๘
เดือน มิถุนายน มีค่าเท่ากับ ๗
เดือน พฤษภาคม มีค่าเท่ากับ ๖
เดือน เมษายน มีค่าเท่ากับ ๕
เดือน มีนาคม มีค่าเท่ากับ ๔
เดือนกุมภาพันธ์ มีค่าเท่ากับ ๓
เดือน มกราคม มีค่าเท่ากับ 2
๑๒ นักษัตร
ปีชวดมีค่าเท่ากับ ๑
ปีฉลู มีค่าเท่ากับ ๒
ปีขาล มีค่าเท่ากับ ๓
ปีเถาะ มีค่าเท่ากับ ๔
ปีมะโรง มีค่าเท่ากับ ๕
ปีมะเส็ง มีค่าเท่ากับ ๖
ปีมะเมีย มีค่าเท่ากับ ๗
ปีมะแม มีค่าเท่ากับ ๘
ปีวอก มีค่าเท่ากับ ๙
ปีระกา มีค่าเท่ากับ ๑๐
ปีจอ มีค่าเท่ากับ ๑๑
ปีกุน มีค่าเท่ากับ ๑๒
                         รวมเอา วัน- เดือน -ปี ที่เกิดบวกเข้าด้วยกัน ถ้ามีผลลัพธ์มากกว่า ๑๐ ให้เอา ๑๐ ลบออก เหลือเศษไม่เกิน ๑๐ หรือ เท่ากับ ๑๐ แล้วอ่าน คำทำนายตามเศษของผลลัพธ์ที่ได้ ดังต่อไปนี้ หากว่าลบหนแรกยังมากกว่า ๑๐ ก็ลบอีก ๑๐ เป็นหนที่สอง ลบจนกว่าจะน้อยกว่า ๑๐
เศษศูนย์นกแขกเต้า   เฝ้าทำรวงรังระวังผล
แสวงดีย่อมมีผล                    อย่าคลอเคล้ากับเหล่าพาล
เหมือนปักษีอันมีปีก             รู้หลบหลีกธนูพราน
ถ้าประมาทจะเสียการ           ถึงชอกช้ำระกำกาย
เศษ ๑ เสาเรือนไหม้ไฟ        ชะตาใครทั้งชายหญิง

ไร้เรือนที่พักพิง                     พึ่งพักสำสักเนา
จะร่อนเร่ระเหระหน             เร่งเจียมตนอย่าดูเบา
เพราะว่าชะตาเรา                   โทษประกอบจึงเกิดกรรมฯ
เศษ ๒ จะครองไข้                มีโรคร้ายรับประจำ
หยูกยาจะหาทำ                      บ่ถูกแท้จนแก่ตัว
เศษ ๓ ความสบาย                มีข้าควายและเกวียนวัว
พอสมสกุลตัว                       เข้าที่ทายสถานกลาง (ปานกลาง)
เศษ ๔ มีข้าครอก                   อเนกนอกคณานาง (ดี)
อุปถัมภ์ล้ำสำอาง                   บ่ไข้ชุกทุกข์บ่เป็น
เศษ ๕ ชะตากลับ                  ทุนทรัพย์แลแสนเข็ญ (ดีมาก)
ภายหลังชะตาเป็น                 ทุนทรัพย์จะนับพัน
เศษ ๖ จะยกญาติ                   เป็นเชื้อชาติประเสริฐสรรพ์
เงินตรายศถาพลัน                 ทุนทรัพย์ลำดับมี (ดีมาก)
เศษ ๗ นั้นผ้าขาด                  จะนุ่งห่มก็ที
พักตราผอมราศี                     ระคายดับทั้งทรัพย์สิน
เศษ ๘ นั้นเปรื่องยศ              จะปรากฏกระเดื่องดิน
ทรัพย์สถงคารสถานถิ่น       ทั้งอำนาจและวาสนา (ดีที่สุด)
เศษ ๙ กินข้าวกลางตลอด     เสมอชาติสุนัขา
ถึงจะมีวาสนา                        ต้องประกอบการทำงาน
แม้นตระกูลทลิทก                ถึงต่ำตกก็บ่นาน
ดังนักเลงสุราบาน                 พอขวนขวานใส่ท้องตน
เศษ ๑๐ เหมือนนกแขกเต้า ทำรวงรังระวังฝน(จำเป็นก็ให้ได้)
แสวงดีย่อมมีผล                    อย่าคลอเคล้ากับเหล่าพาล
เหมือนปักษีอันมีปีก             รู้หลบหลีกธนูพาล
ถ้าประมาทจะเสียการ           จะชอกช้ำระกำกายฯ

ยามตกฟากของแต่ละวัน
เวลา\ยาม นับเรียงตามวัน อาทิตย์ จันทร์ อาคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ หมายเหตุ
๐๖๐๐ ๐๗๓๐                ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗                        ยามกลางวัน
๐๗๐๐ ๐๙๐๐                ๒ ๖ ๗ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕                        ยามกลางวัน
๐๙๐๐ ๑๐๓๐                ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑ ๒ ๓                        ยามกลางวัน
๑๐๓๐ ๑๒๐๐                ๔ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑                        ยามกลางวัน
๑๒๐๐ ๑๓๓๐                ๕ ๗ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖                        ยามกลางวัน
๑๓๓๐ ๑๕๐๐                ๖ ๕ ๖ ๗ ๑ ๒ ๓ ๔                        ยามกลางวัน
๑๕๐๐ ๑๖๓๐                ๗ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑ ๒                        ยามกลางวัน
๑๖๓๐ ๑๘๐๐                ๘ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗                        ยามกลางวัน
๑๘๐๐ ๑๙๓๐                ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗                        ยามกลางคืน
๑๙๓๐ ๒๑๐๐                ๒ ๕ ๖ ๗ ๑ ๒ ๓ ๔                        ยามกลางคืน
๒๑๐๐ ๒๒๓๐                ๓ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑                        ยามกลางคืน
๒๒๓๐ ๒๔๐๐                ๔ ๖ ๗ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕                        ยามกลางคืน
๒๔๐๐ ๐๑๓๐                ๕ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑ ๒                        ยามกลางคืน
๐๑๓๐ ๐๓๐๐                ๖ ๗ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖                        ยามกลางคืน
๐๓๐๐ ๐๔๓๐                ๗ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑ ๒ ๓                        ยามกลางคืน
๑๔๓๐ ๐๖๐๐                ๘ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗                        ยามกลางคืน

                         ครานี้ให้นับรวมยามตนเกิดในวันเกิด รวมเข้าด้วยกันกับวัน เดือน ปี จากนั้นก็ลบให้เหลือสุทธิน้อยกว่า ๑๐ หรือ เท่ากับ ๑๐ ก็ให้ทำนายตามคำทำนายเดิม แลการนับรวมยามตกฟากจักทำให้มีความแม่นยำมาก
                         ในการพิจารณาคำทำนายทั้ง ๑๐ เศษ นั้นข้าพเจ้าได้เห็นแจ้งว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงได้ผนวกเอาพระธรรมบท ๑๐ ประการ ว่าด้วยบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งบารมีนี้เป็นบารมีชั้นแรกของบารมีทั้งหมดสามชั้น เรียกบารมีทั้งหมดทั้งสิ้นว่า บารมี ๓๐ ทัศ แต่ในขั้นนี้ใช้เพียง ๑๐ ทัศ ที่ถือคติทำนายเวไนยสัตย์ที่มีบารมีเพียงชั้นบารมีขั้นต้นก็เพียงพอมีต้องใช้อุปบารมี ปรมัตถบารมี แต่อย่างใด

บารมี ๑๐ ทัศ
บารมี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี ๑๐ ทัศ มีดังนี้
๑ ทานบารมี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
๒ ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล
๓ เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น
๔ ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป
๕ วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
๖ ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
๗ สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี
๘ อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
๙ เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
๑๐ อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า ช่างมันไว้ในใจ
                         ซึ่งข้าพเจ้าจักขอไม่อรรถธิบายในบารมี ๑๐ ทัศ นี้รวมเข้ากับคำทำนายทั้ง ๑๐ เศษ เพราะเพียงแค่อ่านก็พอจักเข้าใจแล้ว เช่น ทานบารมี การที่เศษ ๑ ต้องรับกรรมเช่นนั้นเพราะไม่เคยประกอบทาน และวิริยะบารมี ในเศษ ๕ เปลี่ยนจากทุกข์เป็นสุข เช่นเดียวกับพระมหาชนกที่ประกอบวิริยะบารมี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น