ปู่เจ้าสมิงไพร (ปู่เจ้าสมิงพราย)

ปู่เจ้าสมิงไพร (ปู่เจ้าสมิงพราย)

                     ยะมะหัง ครูอาจาริยัง สะระณังคะโต 
           อิมินาสักกาเรนะตัง ครูอาจาริยัง อภิปูชะยามิ
           ทุติยัมปิ ยะมะหัง ครูอาจาริยัง สะระณังคะโต 
           อิมินาสักกาเรนะตัง ครูอาจาริยัง อภิปูชะยามิ 
           ตะติยัมปิ ยะมะหัง ครูอาจาริยัง สะระณังคะโต 
           อิมินาสักกาเรนะตัง ครูอาจาริยัง อภิปูชะยามิ
โอม กูจักครอบฟ้าแลแผ่นดิน 
กูจักครอบพระสมุทรแลสายสินธุ์ 
กูจักครอบพระอินทร์แลพระพรหม  
กูจักครอบพระยมแลพระกาฬ  
กูจักครอบพระจัตตุโลกบาลทั้งสี่ 
กูจักครอบทั้งตัวกู กูจักเป็นลูกปู่เจ้าสมิงไพร 
ครูกูใช้กูเรียกคุณมนต์ดลแลจ่ามนต์ แลพญามนต์ 
อย่าได้ไปจากตัวกู ใครมิอาจหยุดกูได้ 
สรรพวิชาในขอบจักรวาล จงมาชุมนุมกัน 
โอมประสิทธิแก่กู สะวาหะ ฯ   

     
            ขอบารมีท่านปู่เจ้าสมิงพราย คุ้มครองศิษย์ด้วยเทอญ ผมจะเล่าให้ฟังในส่วนของประวัติฤๅษีตนนี้ ท่านเป็นแรงบรรดาใจให้ผมก้าวเข้ามาในวงการไสยศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถมฯ โดยเริ่มรู้สึกตัวตรงบท เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใดฯลฯ
            ท่านปู่เจ้าสมิงพราย เป็นฤๅษีที่มีอาศรมบนภูเขาอยู่ทางภาคเหนือดินแดนล้านนา เป็นฤๅษีที่สัมฤทธิ์โลกียญาณ คือ ญาณในโลก ประกอบด้วย อิทธิฤทธิ์วิธี (แปลงกาย เหาะเหินเดินอากาศ บังตาดลใจได้) ทิพจักขุ (มีตาทิพย์ ได้บุพเพสาวานุสิติญาณ เห็นบุพกรรมต่างๆ) เป็นต้น รูปร่างหน้าตาของท่านปู่เจ้าสมิงพรายเอาแน่เอานอนไม่ได้ ท่านสามารถปรากฏกายอยู่ในรูปอะไรก็ได้ ทั้งเด็กหนุ่ม วัยรุ่น วัยกลาง วัยเฒ่าแก่ เป็นเสือโคร่ง เสือเหลือง หรือแมว เป็นโน้นเป็นนี่ตามแต่ท่านจะปรารถนาให้เห็น
            ส่วนเรื่องอายุของท่านปู่เจ้าสมิงพรายก็หลายร้อยๆปี ทราบมาว่าท่านอยู่ได้ถึง ๑ กัปเลยทีเดียว ส่วนต้นสายปลายเหตุระวัติว่าท่านเห็นใครมาจากไหนนั้นก็ไม่ทราบ ไม่มีชื่อจริงของท่าน นอกจาก “ปู่เจ้าสมิงพราย”
            ในลิลิตพระลอ ปู่เจ้าสมิงพราย เป็นชายแก่ๆ แต่ปรากฏวัยกลางคน นุ่งขาวห่มขาว พำนักอาศัยอยู่ป่าเขาลำเนาไพร มีฤทธิ์มีเดชมาก เก่งกาจในทางคาถาอาคมและการทำมหาเสน่ห์มหานิยม เสกสลาเหิร(แมลงภู่)บินไปตกลงเป็นหมากผู้ที่กินต้องตกอยู่ภายใต้มนต์คาถา ปลุกผีเรียกภูตเทวดาได้ และท่านยังไม่รับเงินตราหรือทรัพย์สมบัติใดๆ ช่วยตามบุพกรรมเก่า
                     เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใด             พี่เอย
                เสียงย่อมยอยศใคร                           ทั่วหล้า
                สองเขือพี่หลับใหล                         ลืมตื่น ฤๅพี่
                สองพี่คิดเองอ้า                                อย่าได้ถามเผือ ๚ะ
            ในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย โดยกล่าวถึงลิลิตพระลอ  ผมอ่านแค่รอบเดียวบทนี้ผมจำได้มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเป็นอะไรที่มาดลใจอย่างหน้าประหลาด จากนั้นผมก็ไม่ได้สนใจอะไรกับลิลิตพระลอจนอยู่มาวันหนึ่งได้ยินเพลงยอยศพระลอ และอะไรอีกก็ไม่รูมาดลใจให้อยากอ่านลิลิตพระลอ ผมจึงเริ่มอ่านมาตั่งแต่ตอนนั้น ชั้นประถมนะอ่านโคลงกลอนใช้ว่าจะรู้เรื่องเข้าใจไปซะหมด  อ่านจากหนังสืออ่านเล่นสำหลับเด็กและที่ขยายความแล้ว ทำให้รู้จักชื่อนี้ “ปู่เจ้าสมิงพราย” รู้จักว่าเป็นใคร? และต่อมาก็เป็นแรงบันดาลใจพอผมโตขึ้นเล่นของเลย ความจริงเริ่มมีแววมาแต่เด็กๆแล้วครับ


                       มาเข้าประวัติของท่านปู่เจ้าสมิงพราย โดยส่วนตัวผมเรียกท่านว่า “ปู่เจ้าสมิงไพร” องค์เดียวกันนั้นแหละครับ แต่ในที่นี้จะเขียนว่าปู่เจ้าสมิงพรายจะได้ไม่สับสนงุนงง ขอกล่าวจากเนื้อหาลิลิตพระลอ ในตอนต่างๆที่เกี่ยวกับท่านปู่เจ้าสมิงพราย ในตอนแรกจะเท้าความถึงเมื่อสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา สมัยนั้นมีเมืองเหนืออยู่สองเมือง คือ เมืองสรวงและเมืองสรอง ซึ่งจากการสันนิษฐานเมื่อเมืองสรอง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ (อ้างอิงจากพงศาวดารโยนก และ พงศาวดารเมืองน่าน กล่าวถึงเมืองสอง)  ส่วนอีกเมืองหนึ่ง ชื่อว่าเมืองสรวง สันนิษฐานว่าเมืองสรวงน่าจะอยู่ที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
            ท้าวแมนสรวง พระยาหลวงผ่านเผ้า เจ้าเมืองสรวง มีโอรสองคหนึ่งนามว่า พระลอ ท้าวแมนสรวงต้องการตีเมืองสรองเป็นเมืองขึ้น แต่ทำไม่สำเร็จเพราะท้าวพิไชยยพิษณุกรป้องกันเมืองสรองไว้ได้ แต่กระนั้น พระยาพิมพิสาครราช เจ้าเมืองสองก็สวรรคตบนคอช้าง  ต่อมาเมื่อสิ้นท้าวแมนสรวงแล้ว พระลอจึงเสวยราชสมบัติสืบเมืองสรวงต่อ ชื่อเสียงในความหลอของพระลอเล่าลือกันไปทั่ว จนกิตติศัพท์นี้เข้าหูพระเพื่อนกับพระแพง ธิดาในท้าวเมืองสรอง พระเพื่อนพระแพงถึงกับจับไข้ในชื่อเสียงความหล่อของพระลอ (อะไรจะหล่อขนาดนั้น)
            พระพี่เลี้ยงทราบความนัยว่าแกล้งป่วย จึงแสร้งไปบอกพระย่าและพระบิดามาดารของพระเพื่อนพระแพงว่า จับไข้ด้วยขวัญหนีเข้าป่า ต้องรีบเรียกขวัญกลับมาโดยเร็ว สองพี่เลี้ยงจึงเบิกช้างต้น เทียมลม(น่าจะเร็วเท่าลม) และพระพาย(ช้างตัวนี้เร็วเท่าลม)  ไปรับพ่อหมอใหญ่ เพื่อขึ้นเขาไปขอความช่วยเหลือจากปู่เจ้าสมิงพราย
           

ถึงตอนนี้จากบทประพันธ์บทหนึ่งตอนที่หมอใหญ่พาสองพี่เลี้ยงไปพบปู่เจ้าสมิงพราย
o ตามกันไปบหึง ถึงตีนเขาแต่ล่าง แลลิงค่างบ่างชนี ผีผิ่วร้องน่ากลัว หัวหูพองอยู่คร้าม เสือสางด้ามด้อมทาง แรดควายขวางขวัดอยู่ หมู่กระทิงเที่ยวป่า วัวลานล่าเล็มไพร หมู่หมีไปคคล้าย นางช้างผ้ายคคล่ำ บรู้กี่ส่ำตามสาร งูพพานพิษกล้า งูเหลือมคว้ารัดควาย เยียงผาผายปีนป่าย ฝ่ายช้างพังเซราซรึก สัตว์พันฦกพันลาย .........เห็นแนวน้ำบางบึง ชรทึงธารห้วยหนอง จระเข้มองแฝงฝั่ง สรพรั่งหัวขึ้นขวักไขว่ ช้างน้ำไล่แทงเงา เงือกเอาคนใต้น้ำ กระล่ำตากระเหลือก กระเกลือกกลอกตากลม ผมกระหวัดจำตาย ฝ่ายหนปลายไม้แมก ฟังเสียงแสรกเง้างูด ทิ้งทูดบ่นพพึมเสียง เค้ากู่เคียงคู่ร้อง ก้องดงดุจตระหวาด ผาดฟังตกใจกลัว...บ เปนใดดอกนะแม่ กระแหน่นี้นะเจ้า พระปู่เราหากทำเอง...”
                           บทนี้หมอใหญ่พาสองพี่เลี้ยงมาถึงตีนเขาที่ปู่เจ้าสมิงพรายพำนักอยู่ ซึ่งมีสิงสาราสัตว์เผ่นพ่านไปทั่ว เห็นแล้วต้อสะพรึงกลัว เช่น งูเหลือมกำลังรัดควาย เป็นต้น พอถึงบึงก็เห็นจระเข้ และช้างน้ำไล่แทงงา เงือกกำลังสมสู่กับคนใต้น้ำ ดูแล้วน่ากลัวยิ่งนัก และหมอใหญ่บอกสองพี่เลี้ยงว่าไม่ต้องกลัวไม่เป็นอะไรหรอก ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้เห็น


อีกบทหนึ่งเป็นการแสดงฤทธิ์ของปู่เจ้าสมิงพราย 
“  o ตามองเสือพรับ เห็นเสือกลับเปนแมว แถมจราศศุภลักษณ์ มลักเห็นโฉมปู่เจ้า แปรรูปเถ้าหงอกสกาว คิ้วขาวขนตาเผือก กลับตระเลือกเปนบ่าว พึงมล่าวโฉมกล้องแกล้ง งามอรรแถ้งโถงเถง ทรงลักเลงเสสรวล สคราญครวญงามถนัด รบัดเปนกลางแก่ ตระแหน่รูปลักษณดี มีมารยาทเสี่ยมสาร สองถวายสการบูชา อันแต่งมาทุกสิ่ง จึ่งทูลสารสองไท้ สองราชก้มกราบไหว้ พระบาทเจ้ากูมา ฯ”

                     บทนี้กล่าวถึงรูปร่างของปู่เจ้าสมิงพราย ท่านแสดงเริ่มจากเสือ กลายเป็นแมว แล้วการเป็นคนหนุ่มหน้าตาดี แล้วผมก็หงอก คิ้วขาวขนตาเผือก แล้วก็กลับมาเป็นหนุ่มวัยรุ่นหน้าตาหล่อเหลา แล้วก็กลับกลายเป็นชายหนุ่มใหญ่วัยกลางคน ดังจากที่กล่าวมาปู่เจ้าสมิงพรายมีรูปพรรณสัณฐานในรูปต่างๆตามแต่ท่านจะดลใจ จะแปลงเป็นเสือก็ได้ เป็นแมวก็ดี เป็นหนุ่มวัยรุ่นสุดหล่อ หรือเป็นชายแก่ผมหงอกก็ทำได้

บทที่กล่าวว่าปู่เจ้าสมิงพรายเข้าญาณได้
“ปู่ก็ธิญาณเล็งดู กูจะช่วยควรฤๅมิควร รู้ทั้งมวลทุกอัน ด้วยผลกรรม์เขาแต่ก่อน ทำหย่อนหย่อนตึงตึง ส่วนจะถึงบมิหยุด เถ้าว่าจะพลัดสุดพลันม้วย ด้วยผลกรรมเขาเอง แต่เพรงเขาทั้งสอง ทำบุญปองจะไจ้ ขอได้พึ่งบุญตู”
                     ขณะนั้นปู่เจ้าสมิงพรายกำลังเข้าญาณเพ่งดูเรื่องราวรู้ด้วยบุพกรรมชักนำจึงรับปากจะไปช่วยพระเพื่อนกับพระแพง แล้วปู่เจ้าสมิงพรายก็เหาะเหินเดินอากาศมาช่วยพระเพื่อนกับพระแพง (มีฤทธิ์มีเดชมากครับ ท่านปู่ฤๅษีสมิงพราย)
                         ต่อมาท่านปู่เจาสมิงพรายก็ช่วยทำเสน่ห์ใส่พระลอถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเขียนยันต์มัดไว้ปลายต้นยางใหญ่ ลมพัดไปถึงพระลอก็กระสันกระสายออกป่าหาพระเพื่อนพระแพง แต่หมอสิทธิไชยก็ให้ยาแก้ได้ ครั้งที่สองเขียนยันต์ช้างเหนี่ยวดึงมัดไว้ปลายต้นตะเคี่ยนใหญ่ ลมพัดไปถึงพระลอก็ร้อนใจกระสับกระส่ายรุ่มหลงมนต์คาถา แต่หมอสิทธิไชยก็รักษาได้ อีกทั้งยังเชิญผีรักษาเทวดารักษาเมือง เสื้อบ้านเสื้อเมืองดูแลพิทักษ์ปกปักษ์รักษา



o ปู่รำพึงถึงเทพดา หากันมาแต่ป่า มาแต่ท่าแต่น้ำ มาแต่ถ้ำคูหา ทุกทิศมานั่งเฝ้า พระปู่เจ้าทุกตำบล ตนบริพารทุกหมู่ ตรวจตราอยู่ทุกแห่ง ปู่แต่งพระพนัสบดี ศรีพรหมรักษ์ยักษ์กุมาร บริพารภูตปีศาจ ดาเดียรดาษมหิมา นายกคนแลคน ตนเทพยผู้ห้าวท้าวผู้หาญ เรืองฤทธิ์ชาญเหลือหลาย ตั้งเปนนายเปนมุล ตัวขุนให้ขี่ช้าง บ้างขี่เสือขี่สีห์ บ้างขี่หมีขี่หมู บ้างขี่งูขี่เงือก ขี่ม้าเผือกผันผาย บ้างขี่ควายขี่แรด แผดร้องก้องน่ากลัว ภูตแปรตัวหลายหลาก แปรเปนกากภาษา เปนหัวกาหัวแร้ง แสร้งเปนหัวเสือหัวช้าง เปนหัวกวางหัวฉมัน ตัวต่างกันพันลึก ลคึกกุมอาวุธ เครื่องจะยุทธยงยิ่ง เต้นโลดวิ่งระเบง คุกเครงเสียงคะครื้น ฟื้นไม้ไหล้หินผา ดาษดากันผาดเผ้ง รเร้งร้องก้องกู่เกรียง เสียงสเทือนธรณี เทียบพลผีเสร็จสรรพ ปู่ก็บังคับทุกประการ จึ่งบอกสารอันจะใช้ ให้ทั้งยามนตร์ดล บอกทั้งกลอันจะทำ ให้ยายำเขาเผือด มนตราเหือดหายศักดิ์ ให้อารักษ์เขาหนี ผีเขาแพ้แล้วไส้ กูจึงจะใช้สลาเหิร เดิรเวหาไปสู่ เชิญพระภูธรท้าว ชักมาสู่สองหย้าว อย่าคล้าคำกู สั่งนี้ ฯ”
            ครั้งสุดท้ายท่านปู่เจ้าสมิงพรายจึงได้เรียกภูตผีปีศาจ เทวดาอารักษ์ สารพัดผีสางเทวดามาเป็นกองทัพเพื่อจะตีเมืองสรวงชิงตัวพระลอให้พระเพื่อนกับพระแพง แล้วใช้สลาเหิร บินไปตกในหมากพลูของพระลอ กองทัพผีและเทวดาของปู่เจ้าสมิงพรายรบชนะ ยาของหมอสิทธิไชยเสื่อม แล้วปู่เจ้าสมิงพรายก็เสกแมลงภู่บินไปตกลงหมาก เมื่อพระลอเสวยหมากพูลนั้นก็รุ่มร้อนคลุ้มคลั่งจะออกป่า สุดท้ายพระลอก็ออกป่ามา ปู่เจ้าสมิงพรายก็เสกผีสิงในไก่แก้วล่อพระลอให้มาพบกับพระเพื่อนกับพระแพง  



๐ อะหัง วันทามิ คุรุครูอาจาริเยณะ พยัคฆสิงหราชาไกสีห์ ฤๅษีสมิงไพร สัพพะเมวะโทสัง ขะมะถะเม ภันเต ฯ
            โอม กูจักครอบฟ้าแลแผ่นดิน กูจักครอบพระสมุทรแลสายสินธุ์ กูจักครอบพระอินทร์แลพระพรหม  กูจักครอบพระยมแลพระกาฬ    กูจักครอบพระจัตตุโลกบาลทั้งสี่ กูจักครอบทั้งตัวกู กูจักเป็นลูก ปู่ เจ้าสมิงไพรครูกู กูจักเรียกคุณมนต์มงคลแลจ่ามนต์  แลพญามนต์ อย่าได้ไปจากตัวกู ใครมิอาจหยุดกูได้ สรรพวิชาในขอบจักรวาล จงมาชุมนุมกัน ด้วยนะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ นะมะอะอุ ฤ ฤา ฦ ฦๅ โอมประสิทธิแก่กู สะวาหะ ฯ                                 

18 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ คือผมสนใจเกี่ยวกับเวทย์มนต์คาถามานานแล้วครับ แต่ผม อยากทราบว่าก่อนจะเรียนคาถา จะต้อง ยกครูก่อนหรือเปล่าครับ แล้วถ้าจะยกครูต้องทำอย่างไรบ้างครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ศิษย์ต้องมีครูสิครับ จะยกครูที่ไหนก็เรื่องของเจตนาศรัทธาแต่ละบุคคล แต่ถ้าของปู่เจ้าสมิงไพรนั่นค้นหาท่านปู่เจ้าให้พบด้วยความอุตสาหะวิริยะพากเพียรหาท่านปู่เจ้าจนเจอแค่นี้ท่านก็รับเป็นศิษย์แล้ว จะเรียนเวทย์มนคาถาไม่ว่าจะศาสตร์ไหนสายไหนควรมีครูไว้ก่อนนะครับ ถ้าไม่มีเดี๋ยวเราคุมไม่อยู่ของพวกนี้เข้าตัวนั่นแหละหายนะจะมาเยือน จะยกครูก็ไปในสายที่เราอยากเรียนนะครับ

      ลบ
  2. ขอบคุณครับ แต่ผมสงสัยครับ ผมอยากทราบว่าถ้าผมจะตั้งพานครูที่บ้านเองแบบว่าหาเครื่องบูชามาไหว้อัญเชิญที่บ้านเองแบบนี้ได้หรือเปล่าครับ ถ้าไม่ได้ ผมอยากทราบว่าคุณ 9 มหาเวทย์ เปิดตำหนักสอนหรือเปล่าครับผมจะได้ไปศึกษาดูครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตั้งพานครูไว้ที่บ้านได้ครับ สายล้านนาเขาเรียกว่า "ขันครู" โดยขันจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ ขันตั้ง ขันธ์ครู และขันครู(ขันบูชาครู)ซึ่งแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างกันไป
      1)ขันตั้ง เป็นขันที่ใช้บูชาครูก่อนเริ่มงาน ก่อนการกระทำสิ่งต่างๆเพื่อบอกกล่าวครูบาอาจารย์ว่าเรากำลังจะทำอะไร
      2)ขันธ์ครู เป็นขันธ์ 5 มีเครื่องมงคล 5 อย่าง คือ ดอกไม้ขาว ธูปขาว เทียนขาว ผ้าขาว กรวยใบตอง หนึ่งพานประกอบด้วยผ้าขาว และกรวยดอกไม้ 5 กรวย เทียนใส่กรวยละ 1 คู่ ธูปใส่กรวยละ 3 ดอก โดยขันธ์ 5 นี้จะเปนตัวแทนขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
      3)ขันครู เป็นเสมือนตัวแทนครู จะเป็นสายไหนก็ต้องมีขันครู สายฤาษี สายล้านนา สายเขมร สายใต้ สายผี สายภูต สายพราย สายเทพ มักมีพานครูตั้งบูชาไว้ อัญเชิญครูบาอาจารย์มาสถิตอยู่ เพื่อจะใช้เพิ่มพลังวิชาอาคมและรักษาวิชาอาคม ทั้งยังปกป้องรักษาตัวผู้เป็นศิษย์อีกด้วย ถ้าไม่มีขันครูจะทำให้การประกอบพิธีต่างๆไม่สำเร็จ จะเกิดอาถรรพ์และขึด หากใช้อาคมเกินตัวอาจจะทำให้ของเข้าตัวถึงตายได้ แต่ถ้ามีขันครูแล้วรักษาไม่ดีของก็เข้าตัวได้เช่นกัน ขันครูต้องตั้งไว้ที่สูงสุดของบ้านที่พักอาศัย ห้าวไว้ในที่ต่ำ หากจะโยกย้ายขันครูต้องห่อผ้าขาวก่อนทกครั้งและถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าย้ายขันครูเด็ดขาด
      ขันครูชั่วคราว ขันครูในพิธีต่างๆ เช่นพิธีมงคล พิธีลงเลาเอก ขึ้นบ้านใหม่ ขึ้นครูอาจารย์วัด(มัคคธายก) พิธีแต่งงาน สู่ขวัญต่างๆ ทำขวัญนาค ส่วนงานอวมงคล เช่นพิธีศพสงสการ เป็นต้น ขันครูชั่วคราวนี้จะมีการลาขันเมื่อเสร็จงานเรียกว่า "ปลดขันตั้ง" จนชาวบ้านเอามาเรียกกันติดปากในวงเหล้า
      ขันครูถาวร ขันครูสำหรับผู้ต้องการจะเล่าเรียนวิชาคาถาอาคม โดยผู้ที่จะเรียนให้ทำพานครู 1 พาน แล้วทำพิธีเลี้ยงครู ยกขันครู แล้วนำไปบูชา ตั้งเครื่องพลีกรรม น้ำดื่มและดอกไม้ ตามแต่ละสำนัก บางครั้งอาจใช้กำยาน ขันครูนี้จะเปลี่ยนได้เพียงปีละครั้ง ตามกำหนดของแต่ละสถานที่ เช่น วันพญาวัน ในช่วงสงกรานต์ เป็นต้น
      ขันครูถาวรมี 2 ประเภท
      1) ขันน้อย แบ่งเป็น ขัน 5 , ขัน 8 , ขัน 12 , ขัน 16 , ขัน 24 , ขัน 28 , ขัน 32
      2) ขันหลวง แบ่งเป็น ขัน 108 , ขัน 109, ขัน 227 , ขัน 1000
      ส่วนประกอบโดยทั่วไปที่ขาดไม่ได้คือ
      - หมากแห้ง หมากหมื่น
      - ผ้าขาว แทนครูที่ล่วงลับไปแล้ว
      - ผ้าแดง แทนครูที่มีชีวิตอยู่
      - กรวยดอกไม้ ทำตามจำนวนขันและดอกไม้ ตามแต่สำนักกำหนด
      - กรวยพลู (สวยพลู) หมากแห้งใบพลูและสีเสียด ทำตามจำนวนขัน
      - เครื่องดื่ม สายผีสาย ภูต พรายมักใช้เหล้า(สุราขาว สุราแดง) 1 ขวด สายเล็กไหลมักใช้น้ำผึ่ง 1 ขวด หรือใส่ทั้งสองก็ได้
      - ข้าวเปลือก ข้าวสาร
      - เบี้ยจั่น เบี้ยนาง ใส่ตามจำนวนขัน
      - ของทนสิทธิ์ ของศักดิ์สิทธิ์หายาก เป้ง รูปปั้น ลูกแก้ว ประคำ อะไรก็ได้ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้าฝ่ายพฤติบาตจะมีขอช้าง เชือกคล้องช้าง
      - เทียนสีต่างๆตามกำหนดไว้ หรือเทียนขี้ผึ่ง ใส่เป็นคู่หรือตามจำนวนขัน
      - ข้าวตอก
      - ช่อ คือ ฉัตรหรือธง
      - พาน หรือ ขันโตก ไว้สำหรับใส่เครื่องมงคลทั้งหมดที่กล่าวมา

      ขันของผมเป็นขัน ๙ ใช้ดอกแก้ว ดอกมะลิ ดอกกาสะลอง ดอกพุดจีบ ดอกพุดซ้อน ดอกพุดศุภโชค ดอกมหาหงษ์สีขาว ดอกบัวหลวงสีขาว ดอกหิรัญญิการ์ ซึ่งเป็นดอกไม่ต่างฤดูการจะหาดอกไม้มาตั้งขันในวันพญาวันจึงเป็นเรื่องที่ยาก ผ้าขาวผ้าแดงยาวเท่าความสูง(เท่าวา) ด้ายสายสิญจน์เท่าวา เครื่องสลา-ชุดเครื่องหมากเชี่ยนหมาก(หมากพลู สีเสียด ปูนแดง ตะบันหมาก)เทียนขาว ๙ กำยาน ๙ เบี้ยจั่น ๙ ข้าวตอก ข้าวสาร ข้าวเปลือก ข้าวเหนียวดำ(เปลือก,สาร) น้ำผึ่ง ๑ ขวด สุราที่กลั่นจากน้ำตาลเมาที่ทำจากดอกปาล์ม ๑ ขวด(รสชาติคล้ายน้ำคันธบานหรือสุราทิพย์ที่สุด)น้ำเปล่า ๑ ขวด ของศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วย พระขรรค์เงินเทวดา(จี้เล็กๆ) จักรนารายณ์(จี้เล็กๆ) พระแสงศร(ลูกธนูเล็กๆ) เขี้ยวเสือ เล็บเสือ หนังหน้าผากเสือ เหล็กไหลโกฏิปี ปรอทหุง แก้วเขาแก้ว แล้วก็ช่อธง ๙ สี ฉัตร ๙ ชั้น และก็พานขันโตกขนาดพอยกคนเดียวได้

      ขันครูของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ตัวบุคคลว่าจะรับครูบาอาจารย์แบบไหน รับของวิชาถือคาถาแบบไหน ผมก็เคยตั้งขัน ๑๐๐๐ ซึ่งเป็นงานหล่อพระพุทธรูป ส่วนคนอื่นๆของกลุ่มนี้ก็ตั้งไปตามสำนักที่พวกเขาเล่าเรียนมา
      ๙ มหาเวทย์ ไม่มีตำหนักเป็นของตัวเองหรอกนะ เป็นแค่คนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งแยกกันอยู่คนละทิศคนละทาง นานๆจะมาประชุมกันทีในสถานที่ต่างๆกันไป ไม่ได้ถือวิชาอาคมจากสำนักเดียวกันด้วย มากันต่างอาจารย์ ส่วนผมก็เรียนรู้มาหลายๆที่ปะปนกันไปหมดในช่วงแรกๆ แต่พอเข้าทีเข้าทางก็รวมมาเป็นสำหรับเดียว ขัน ๙ ของผมเนี่ยแหละ ถ้าหากจะเรียนจริงๆคนทั่วไปผมแน่นำว่าให้อายุเกิน ๒๐ ปีก่อนนะครับ สำหรับคนทั่วไปหากเป็นเด็กเป็นเล็กจะถือครูไม่อยู่ คุ้มของไม่ไหวไปเข้าคนอื่นมันอันตราย แต่ถ้ามีพรสวรรค์มักจะมีประสบการณ์รับขันครูมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว

      ลบ
  3. ผมอยากศึกษาไสยศาสตร์จากอาจารย์โดยตรงอะครับ ผมไม่อยากยกขันธ์เอง ผมชอบไสยศาตร์มากนานมากแล้วครับ

    ตอบลบ
  4. อาจารย์ช่วยเมตตาสอนให้ผมได้ไหมครับ แล้วผมจะติดต่อาจารย์ได้ยังไง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พักนี้ผมกำลังยุ่งๆอยู่ พอดีติดคิวดูดวงให้ชาวบ้านชาวเมืองอยู่ครับ ไว้ว่างๆจะบอกวิธีติดต่อให้ก็แล้วกันนะ ถ้าอยากเรียนจริงๆทำไมไม่ไปตามสำนักต่างๆล่ะครับ ที่เขาสอนไสยศาสตร์โดยตรง แต่ถ้าจะเรียนกับผมเห็นทีว่าจะยาก

      ลบ
  5. อ้อแล้วคาถาทุกบทใน ๙ มหาเวท นำไปใช้ได้เลยไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คาถาทุกบทตรวจทานแล้วตามสำนวนโบราณที่ยังไม่ได้แก้คำผิด คือครูอาจารย์เขียนมายังไงก็เขียนไว้อย่างงั้น นำไปใช้ได้เลยครับ แม้ว่าบางคาถาจะเป็นมนต์ดำ แต่ผมก็เลือกเอาแต่คาถามนต์ดำที่ไม่รุนแรงนัก จะได้ปลอดภัยในระดับหนึ่ง ทองไปสวดไปแล้วไม่ได้ผล ให้ย้อนกลับมาดูตัวเอง ให้ใช้ "ใจ" เป็นประธาน ใจเป็นใหญ่แล้วอนิสงค์ในคาถาจะปรากฏมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเราเองว่ามีมากน้อยแค่ไหน บางครั้งคาถาอาคมแทบไม่จำเป็นถ้าสติอยู่กับตัวแล้วใจเป็นประธานจะหยั่งอะไรก็ได้ พลังและอานิสงค์เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดมาจากความขลังในคาถาอาคม แต่พลังส่วนมากมาจากใจของผู้ต้องการจะใช้คาถานั้นต่างหาก

      ลบ
  6. ที่ผมไม่ไปเรียนกับสำนัก เพราะผมไม่รู้ว่าสำนักไหนของจริงไม่จริง เพราะเดี๋ยยวนี้18มงกุฏเยอะ และส่วนมากก็ทำเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว แต่อาจารย์ผมว่าอาจารย์มีเมตตา และที่เผยแพร่ศาสตร์เหล่านี้ก็เพื่อเป็นแนวความรู้ให้สำหรับคนที่สนใจ ไม่ได้คิดหาสิ่งตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะขอเรียนกับอาจารย์ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คิดจะเรียนกับผมจริงๆเหรอเนี่ย ผมรับไว้พิจาณาแล้วล่ะ คุณกมนณพ ผมคิดว่าคุณน่าจะมีความรู้อยู่พอตัวแล้วนะถ้าสนอกสนใจไสยศาสตร์ขนาดนี้ บอกไว้ก่อนนะไม่มีใครเรียนกับผมแล้วเรียนจบครอสเลยสักราย พอเรียนได้นิดๆหน่อยๆก็ไปต่อไม่ไหว

      ลบ
  7. คนอื่นผมไม่รู้ครับแต่ผมขอศึกษาก่อน

    ตอบลบ
  8. สวัสดีครับอาจารย์ครับ คือผมได้เข้ามาอ่าน ความรู้เว็บนี้มาพอสมควรแล้วแต่ผมมีอยู อย่างหนึ่งที่ผมสงสัยมากครับ และผมสงสัยเรื่องนี้มานานมา คือว่า ผมอยากรู้ว่า การตั้งธาตุอ่ะครับ ไม่ทราบว่า ถ้าเราจะสวดคาถาตั้งธาตุเราต้องทำจิตแบบใหนครับ
    คือผมเคย ฝึกการเพ่งกสิณไฟ โดยใช้จิตนึกเห็นเปลวไฟครับ แล้วไม่ทราบว่าการตั้งธาตุ ต้องทำจิตแบบเดียวกับการเพ่งกสิณหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การตั้งธาตุ ก็คล้ายกับการเพ่งกสิณ เวลาสวดภาวนาคาถาตั้งธาตุก็ทำใจให้เป็นธาตุนั้นๆ ฟังดูน่าจะยาก แค่เวลาสวดภาวนาแม่ธาตุน้ำก็ทำจิตเสมือนว่าเราแช่น้ำอยู่ ภาวนาให้เกิดฝนก็ทำจิตเหมือนเรานั่งตากฝนที่กำลังตกพรึ่มๆ ภาวนาให้เกิดไฟก็ทำจิตเสมือนว่ามีไฟลุกขึ้นตรงหน้ารู้สึกสัมผัสได้ถึงไออุ่นไอร้อน ภาวนาให้หล่องหนหายตัวก็ทำจิตเสมือนว่าเขาไม่เห็นเรา เหมือนเราเป็นอากาศธาตุ เหมือนเราเป็นที่ว่างเปล่า ก็ประมาณนี้แหละครับ ต้องใช้จินตภาพพอสมควร
      การฝึกกสิณจะเพ่งแล้วจำ แต่ตั้งธาตุจะสัมผัสให้รู้แล้วนำสมผัสนั้นมาใช้ แต่ถ้าหากจะตั้งธาตุโดยใช้จิตเช่นเดียวกับกสิณก็ทำได้ ผลที่ได้ก็เหมือนกัน เพราะคำภาวนาให้ความหมายเช่นเดียวกันครับ

      ลบ
  9. อาจารย์เลี้ยงว่านไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมเลี้ยงว่านไม่เยอะเท่าไหร่หรอกนะ รดน้ำไม่หวาดไม่ไหว

      ลบ
  10. เรื่องตำนานปู่เจ้าสมิงพรายนนี้ผมขออนุญาตวิจารณ์นิดนึงนะคับ เพราะสาเหตุเนื่องมาจากว่า..ในลิลิตพพระลอนั้นได้กล่าวไว้ถึงลักษณะรูปร่างหน้าตาของปู่เจ้าสมิงพรายชัดเจนว่า..แตต่งองค์ทรงเครื่องแบบกษัตริย์และแม้จะเรียกว่าปู่เจ้าเพราะมีอายุมากนับร้อยปีแล้วก็ตาม..แต่เพราะปู่เจ้าต้องการที่จะสำแดงฤทธานุภาพให้พระเพ่ือนพระแพงได้เกิดความศรัทธาจึงมาหาพะเพื่อนพระแพงถึงในวัง..และมาในลักษณะที่จำแลงแปลงกายเป็นบุรุษหนุ่มรูปงามทรงเครื่องอย่างกษัตริย์...และที่มาเรียกันว่าปู่เจ้าสมิงพรายบ้าง ปู่เจ้าสมิงไพรบ้าง..ถ้าเรียกตามที่ท่านอยู่คืออยู่ในป่าลึกก็อาจจะเรียกได้ครับ.เพราะรากศัพท์เดิมคำว่าสมิงนันแปลว่าหัวหหน้าคู่กับคำว่าสมุนที่แปลว่าบริวาร...เช่นสมิงไพร.กับสมุนไพร...แต่ถ้าเรียกว่าสมิงพราย..อันนี้แปลว่าเจ้านายใหญ่แห่งภูตผีวิญญาณทั้งปวง....และถ้าสันนิษฐานในแบบของวรรณคดีวิเคราะห์.น่าจะเรียกชื่อท่านวาปู่เจ้าสมิงพราย...จึงจะถูกต้องที่สุดเพราะว่า..ในเนื้อเรื่องก้อเรียกว่าปู่เจ้าสมิงพราย.เหตุผลถัดมาก็คือ...ท่านมีบริวารเปนภูตผปีศาจอสุรกายมากมายไปหมด...และแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์จึงจะถูกต้อองเพราะคำว่าปู่เจ้าจะใช้เรียกเฉพาะผู้ที่มีเชื้อสายเปนราชนิกูลมาก่อนแล้วละออกจากการคราองราชบัลลังก์หรือการทำงานราชการในฐานะเชื้อพระวงศ์แล้วไปบำเพ็ญตบะบารมีอยู่ในป่า......ดังนั้นปู่เจ้าจึงทรงเครื่องตามแบบอย่างขงกษัตริย์ในขณะที่กำลังจำศีล..ซึ่งจะเปนเครื่องแต่งกายอีกรูปแบบหนึ่ง..ม่ใช่แต่งกายแบบพวกฤาษีชีไพรตามที่เราทั้งหลายเข้าใจผิดกันมา....

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับคำวิจารณ์นะครับ
      ถ้าคำว่า สมิง มาจากภาษามอญหรือพม่า คือตำแหน่งเจ้าแผ่นดินหรือขนนางชั้นผู้ใหญ่
      ถ้าคำว่า สมิง มาจากภาษาเขมร มีรากศัพท์คำว่า "สิง" ที่แปลว่า "อยู่" และคำว่า สมิง คือ "อยู่นิ่ง" ซึ่งนัยความหมาย "สมิงไพร" คืออยู่ในป่า ไม่ใช่สมุนไพรนะครับ
      ทบทวนนะครับ ลิลิตพระลอ มีคำว่า สลาเหิน ซึ่งคำว่า "สลา" แปลว่า "หมาก"
      สลาเหิน คือ หมากที่ถูกเสกให้กลายเป็นแมลงภู่
      ดังนั้น ควรใช้ภาษาเขมรในการแปล ไม่นั้นจะผิดความหมายได้
      ถ้าคำว่า สมิง ของไทยเราก็จะมีความหมายถึง เสือสมิง

      คำว่า "ปู่เจ้า" ในที่นี้แปลว่า ผู้เฒ่าที่เคารพนับถือ หรือจะแปลว่า เทพารักษ์ก็ได้
      การที่ถูกขาลนามว่า ปูเจ้าสมิงไพร หรือ ปู่เจ้าสมิงพราย เพราะท่านมักแปลงกายเป็นเสือ
      และชาวล้านนาก็เรียกขาลท่านว่าปู่เจ้าสมิงพราย ปรากฏในบทสวดสังเวยต่างๆครับ
      โดยวิเคราะห์ตามลักษณะของบทสวดเหล่านั้นที่ว่าเป็นบรมครูด้านเสน่ห์และภูตพรายก็ชัดเจนว่าเป็น ฤาษี หรือผู้บำเพ็ญพรต
      ส่วนจะมีความเห็นอย่างใดนั้น แล้วแต่จะพิจารณากันเองนะครับ เพราะปู่เจ้าสมิงพรายไม่ได้ปรากฏเพียงแค่ลิลิตพระลอเท่านั้น ถ้าอยากรู้จักต้นสายปราเหตุก็แสวงหาชื่อปู่ฤาษีเหล่านี้นะครับ
      "ปู่เจ้าสมอคอน ปู่เจ้าสมอแครง ปู่เจ้าสมอราย ปู่เจ้าสมิงไพร" เป็นฤาษีที่มีตำนานในประเทศไทยครับ

      ๙ มหาเวทย์

      ลบ