เห็ดหลินจือ ราชาแห่งสมุนไพรอันน่าพิศวง

เห็ดหลินจือ ราชาแห่งสมุนไพรอันน่าพิศวง


                        ทุกคนคงเคยรู้จัก เห็ดหลินจือ กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะชื่อว่าเห็ดหลินจือ ผมเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินชื่อนี้และในตำรายาจีนหลายเล่มไม่ว่าจะเป็น เสินหนงเปิ๋งเฉ่าจิง คัมภีร์ไทผิงเซิ่นอุ้ยฟัง ก็มีการใช้เห็ดหลินจือเป็นตัวยาสำคัญ ในเสินหนงเปิ๋งเฉ่าจิงนั้น กล่าวว่า เห็ดหลินจือเป็น "เทพเจ้าแห่งชีวิต" มีพลังมหัศจรรย์ เป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยทำให้ชีวิตยืนยาวต่อไปได้เช่นเดียวกับโสมที่ช่วยให้อายุยืนขึ้นอีกนิดหน่อย แต่กระนั้นโรคบางโรคหลินจืออาจจะก็ใช้รักษาไม่ได้โดยตรง หลินจือเป็นแค่ยาช่วยชีวิตไม่ใช้ยารักษา เช่นถ้าถูกพิษเมื่อหลินจือรักษาก็แค่ยื้อชีวิตได้อีกเล็กน้อยเท่านั้นต้องใช้ยาถอนพิษในการรักษาถึงจะถูกต้อง (ใช้ยาให้ถูกกับโรค)

                        ในการศึกษาวิจัยความเป็นพิษของเห็ดหลินจือ
การศึกษาทางพิษวิทยาของเห็ดหลินจือทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังพบว่า มีความเป็นพิษต่ำมากและมีความปลอดภัยในการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน 

                        เห็ดหลินจือ อยู่ในอาณาจักรฟังไจ (เห็ดรา) มีอยู่หลายวงศ์สกุลกว่า
100 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ เห็ดหลินจือแดง กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) พบว่ามีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด และมีความนิยมมากที่สุดด้วยเช่นกัน เห็ดหลินจือยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อทั้ง เห็ดหมื่นปี เห็ดเล่งจือ เห็ดขอนไม้ เห็ดจวักงู เห็ดกระด้าง เห็ดไม้ เห็ดนางกวัก ฯลฯ ชอบขึ้นอยู่ตามพื้นดินขอนไม้ หรือต้นไม่ในสภาพอากาศเย็นและมีความชื้นสูง
                                    เห็ดหลินจือมักขึ้นบนขอนไม้ พื้นดิน ในสภาพเน็นชื้น

                        สายพันธุ์ของเห็ดหลินจือที่ถูกนำมาใช้มีสองสายพันธุ์หลักคือเห็นหลินจือแดง ตามชื่อเลยคือมีสีแดง และเห็ดหลินจืดดำ ก็ตามชื่ออีกเช่นกันว่ามีสีดำ
              เห็ดหลินจือแดงที่หั่นเป็นแผ่นๆ       เห็ดหลินจือแดงธรรมชาติ

                        เห็ดหลินจือแดง มีลักษณะเป็นราขนาดใหญ่ ที่มีรูปร่างคล้ายไต สีแดงอมน้ำตาล หรือสีม่วงแก่ มีลายวงแหวน มีความวาวเป็นมัน มีลักษณะแข็งเหมือนเนื้อไม้ ปลายรอบนอกสุดของหมวกเห็ดบาง และม้วนเข้าด้านในเล็กน้อย ผิวในของหมวกเห็ดมีสีขาว หรือน้ำตาลอ่อน ก้านดอกเห็ดมีสีน้ำตาลแดง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซ.ม. หรือมากน้อยกว่านั้นตามอายุของเห็ด
      
            เห็ดหลินจือดำที่หั่นเป็นแผ่น                 เห็ดหลินจือดำธรรมชาติ

                        เห็ดหลินจือดำ มีรูปร่างเช่นเดียวกับเห็ดหลินจือแดง รูปร่างคล้ายไต แต่มีสีดำ หรือสีเทาแก่ มีลายวงแหวน ผิวเป็นคลื่นๆและมีความมันวาว เนื้อเห็ดเหนียวและแข็งเหมือนเนื้อไม้ ปลายรอบสุดของหมวกเห็ดบาง ม้วนเข้าด้านในผิวในของหมวกเห็ดเป็นสีขาว  ก้านดอกมีสีดำหรือเทาเข้ม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซ.ม. หรือมากน้อยกว่านั้นตามอายุของเห็ด 



                        โดยทั่วไปแล้วเห็ดหลินจือสามารถขึ้นเป็นดอกเดียว หรือขึ้นเป็นลุ่มๆ หลายๆดอกได้ อีกทั้งยังสามารถแตกกิ่งก้านสาขาเป็นหลายดอกเป็นพวงได้ ออกดอกเป็นดอกแฝดสอง ดอกแฝดสาม หรือมากกว่านั้นได้ ลักษณะแต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกัน บางพันธุ์ผิวแววมัน บางพันธุ์ผิวเรียบสีด้าน บางพันธุ์ผิวขรุขระมันแววหรือสีด้าน บางพันธุ์สีเหมือนเนื้อไม้ที่เห็ดหลินจือขึ้น แต่ลักษณะที่คล้ายๆกันคือรูปทรง รูปร่างของเห็ด ความแข็งของผิวและเนื้อเห็ด (ความแข็งแรงบางครั้งใช้ทุบคน ปาหัวหมาก็ได้) ในมุมมองของผู้เขียนที่เคยพบเห็นเห็ดหลินจืออยู่บ่อยครั้งบางครั้งก็พบเห็ดหลินจือที่มีรู้ร่างแปลกตาเช่น รูปโถรูปถ้วย รูปตะพาบรูปเต่า ทั้งสวยงามทั้งแปลกหูแปลกตา

                          เห็ดหลินจือเหลือง (หลากสี)        เห็ดหลินจือแดงรูปขดหอย

                           เห็ดหลินจือแดงกิ่งก้านสาขา       เห็ดหลินจือแดงออกดอกเป็นพวง

                        อนึ่งเห็ดหลินจือในสายตาของชาวบ้านทั่วไปที่ไม่รู้จักนั่นก็ยากที่จะแยกเห็ดหลินจืดออกจากเห็ดพิษจึงยากที่จะเก็บมาใช้รักษาเพราะรูปร่างมันสวยงามแปลกเห็นน่านำมาวางประดับประดาบ้านเรือนมากกว่าการนำมาต้มกิน ซึ่งกลัวว่าจะมีพิษจริงๆแล้วเห็ดหลินจือจริงๆนั้นไม่ใช่เห็ดพิษ ด้วยลักษณะแข็งกระด้างเหมือนเนื้อไม้ แต่บางเห็ดที่แข็งเช่นกันเมื่อโดนไม้หรือวัตถุอะไรขีดขวั่นแล้วเป็แผลมียางสีขาวสีแดงออกมาดูน่ากลัวนั่นก็สาเหตุหนึ่งที่ใช้อันนั้นก็น่าสนใจอาจจะไม่ใช่เห็ดหลินจือก็ได้ แต่เท่าที่ศึกษาเห็ดหลินจือแล้วเป็นเนื้อไตๆแข็งๆและแห้ง ซึ่งจะใช่จำแนกจากเห็ดชนิดอื่นได้
                ก้านเห็ดหลินจือแดง             ขอบหมวกเห็ดหลินจือแดงธรรมชาติ


                  
                  เห็ดหลินจือเหลืองธรรมชาติ                          เห็ดหลินจือเหลืองธรรมชาติ

                        การกินเห็ดหลินจือโดยตรงนั้นไม่ขอแน่ะนำเพราะลักษณะของเห็นแข็งเหมือนเยื้อไม้ไม่เหมาะที่จะกินแค่เคี้ยวก็ไม่ขาดแล้ว และบดเป็นผงใส่แคปซูลรัปประทานอันนี้ก็ไม่เหมาะเพราะเอนไซม์ในร่างกายเราย่อยไม่ได้ ควรนำมาต้มก่อน ส่วนที่ใช้ต้มคือดอกเห็ดหลินจือที่ผ่า ฝาดเป็นแผ่นๆชิ้นเล็กๆ หรือหั่น บดเป็นผงก็สามารถนำมาใช้ต้มได้ ส่วนที่เป็นผิวแข็งเยื้อหุ้มเห็ดนั้นเป็นเสมือนผนังเกาะป้องกันตัวเห็ด แต่ส่วนที่มีประโยชน์จริงคือสปอร์เห็ดที่เกาะตามดอกเห็ดและเนื้อเห็ดด้านใน ดั้งนั้นการหั่นบดผ่าแล้วนำมาต้มจะดึงเอาสปอต์เห็ดหลินจือออกมาได้ดีกว่าการต้มทั้งดอก แต่ถ้าจะให้ได้ประโยชน์จริงๆคือสารสกัดจากเห็ดหลินจือ แต่ราคาแพงดังนั้นเห็ดหลินจือต้มนี้แหละเหมาะสมที่สุดแล้ว


วิธีบริโภค ที่ให้คุณประโยชน์จากน้อยไปหามาก  

                        1. แบบยาบดบรรจุแคปซูล ใช้วิธีเอาเห็ดไปบด ให้ละเอียดแล้วนำไปบรรจุแคปซูล วิธีนี้ต้นทุนต่ำและราคาถูก แต่ได้สาระสำคัญจากเห็ดหลินจือน้อยมาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยสกัดเอาสารสำคัญออกมาได้ทั้งหมด

                        2. แบบยาต้มเอาน้ำมากินเป็นยา หรือดองเหล้า เอาน้ำมากินเป็นยา วิธีนี้ต้นทุนต่ำ ราคาถูก ได้รับประโยชน์จากเห็ดหลินจืออกมาได้ในระดับกลาง เนื่องจากเห็ดหลินจือประกอบด้วยสารที่สามารถละลายน้ำได้
                        3. แบบยาสกัดบรรจุแคปซูล ใช้วิธีสมัยใหม่สกัดเอาตัวยาออกมาแล้วนำไปบรรจุแคปซูล วิธีนี้ต้นทุนสูงราคาแพง แต่ได้ปริมาณสารสำคัญในเห็ดหลินจือที่มีประโยชน์ครบถ้วนมากที่สุด

สรรพคุณ

 
                       ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่ ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน 

                        ปัจจุบันนี้สรรคุณที่ยอมรับตามกฎหมายคือ เป็นสมุนไพรบำรุงกำลัง สมุนไพรบำบัด ยังไม่เหมาะแก่การนำมารักษา แต่ก็เป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิดและรู้จักกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกาก็มีการทดลองใช้และศึกษาวิจัยสรรพคุณทางเภสัชวิทยาของเห็ดหลินจือในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และการบำบัดรักษาโรคเรื้อรังต่างๆในระยะแรกและระยะสุดท้าย
นอกจากนี้ยังนำมาศึกษาในการยับยั้งเซลล์มะเร็งอีกด้วย


องค์ประกอบทางเคมีที่พบในเห็ดหลินจือ
1. โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์หลายชนิด มีโครงสร้างหลักเป็น เบต้า-ดี-กลูแคน
2. ไทรเทอร์ปีนอยด์ ( Triterpenoids ) มีโครสร้างเป็น Lanostanoid พบมากกว่า 60 ชนิด เป็นสารที่มีรสขม
3. สเตียรอยด์ ( Steriods ) ที่สำคัญ คือ ergosterol
4. โปรตีน ที่สำคัญ คือ Ling Zhi-8 ประกอบด้วยกรดอะมิโน 110 โมลิกุล มีคาร์โบไฮเดรตในโมลิกุล 1.3%
5. นิวคลีโอไซด์ และ นิวคลีโอไทด์ (Nucleisides and Nuleotides)
6. ไลปิดส์ (Lipids) ได้แก่ behenic acid , lignoceric acid , linoleic acid , nonadecanoic acid , oleic acid , paimiyic acid , stearic acid และ tetradec-cis-9-enoic acid
7. สารกลุ่มอื่นๆ กลุ่ม sesquiterpenes เช่น 15- hydroxyacorenone กลุ่ม quinoids เช่น crysophanic acid , crysophanic acid glucoside สารประกอบกำมะถัน เช่นcyclooctasulfur สารประกอบอินทรีย์ เช่น germanium



สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยา
1. กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ชนิดขม (Bittertriterpenoids) เป็นสารสำคัญทางยาที่มีความแตกต่างกันกว่า 100 ชนิด ใช้รักษาโรคภูมิแพ้โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง ปกป้องตับ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ และช่วยต่อต้านสารที่มีพิษต่อตับ สารที่มีส่วนสำคัญในการรักษาโรคคือ กรดกาโนเดอริค (Ganoderic acidA, B, C1, C2, D-K, R-Z) และกรดลูซิเดนิค (Lucidenicacid) ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรสารไตรเทอร์ปินนอยด์แฟรกชันของเห็ดหลินจือ โดยมีข้อบ่งชี้ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต และยังมีการจดสิทธิบัตรสารกาโนโดสเตอโรน (Ganodosterone) เป็นยาเม็ด 5 mg โดยมีข้อบ่งชี้ใช้กระตุ้นการทำงานของตับ (Liverfunction stimulant)
2. เออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ใช้ป้องกันโรคกระดูกและรักษาในผู้ป่วยโรคกระดูก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทอง
3. กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) มีสรรพคุณรักษาโรคหัวใจ ป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดจากลิ่มเลือด สารที่มีส่วนสำคัญต่อผลการรักษา คือ สารอะดีโนไซน์ (Adenosine) กัวโนไซน์ (Gaunosine)และอัลคาลอยด์ (Alkaloids)
4. สารประกอบเยอร์มาเนียม (Germanium,Gc contents) เป็นสารที่มีสรรพคุณส่งเสริมระบบการทำงานของร่างกายให้แข็งแรง กำจัดพิษและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ มีการศึกษาใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันเพื่อกำจัดพิษ และลดอาการไม่พึงประสงค์จากยารักษามะเร็งได้
5. กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) สรรพคุณ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ต่อต้านสารแพ้ ต่อต้านเชื้อไวรัสเริม งูสวัด และเชื้อ HIV ลดภาวะแทรกซ้อนจาก
การใช้เคมีบำบัดและรังสีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งสำหรับสารที่มีสรรพคุณทางยา คือ กาโนเดอแรนส์(Ganoderans A, B, C) และสารเบต้าดีกลูแคน(Beta-D-Glucan)




สุดท้ายนี้ เตือนสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้เห็ดหลินจือ ถ้าท่านนำมาใช้แรกๆจะมีอาการผิดปกตินั่นเพราะร่างกายกำลังปรับสมดุล อาจจะรู้สึกมึนศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ ง่วงนอน ผิวหนังเกิดอาการคัน อาเจียน อาการคล้ายท้องเสีย ท้องผูก มีปัสสาวะบ่อย หรือจะมีผลลักษณะอาการของโรคนั้น ๆ  แต่ถ้าอาการหนักควรไปพบแพทย์ดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น