ท้าวหิรัญพนาสูร : เทพารักษ์

ท้าวหิรัญพนาสูร คือใคร? ( ฮู )
เทพารักษ์ในรัชกาลที่ ๖


๐ ระหินะ ภูมาสี ภะสะติ นิรันตะรัง ลาภะสุขัง ภะวันตุเม ฯ
 เรื่องเกิดขึ้นมาแต่ครั้งที่สมัยราชอาณาจักรสยามยังคงปกครองแบบระบบภูมิภาคมณฑล มีมณฑลหนึ่งชื่อว่ามณฑลพายัพ คือ ๕ หัวเมืองประเทศราชล้านนา (นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน นครแพร่ เมืองเถิน)
ย้อนกลับไปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖) ยังทรงดำรงทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จประพาสมณฑลพายัพ ซึ่งสมัยนั้นเส้นทางมีแต่ภยันอันตราย เป็นป่าทึบ คราวจะเสด็จทรงหวั่นวิตกว่าฤดูนั้นมีไข้ป่า โรคภัยไข้เจ็บ และมีอันตรายอยู่มาก ทรงเกรงว่าจะเกิดอันตรายกับคณะประพาส ท่ามความไปตอนสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษ ขณะนั้นทรงสนพระทัยศึกษาเรื่องลึกลับของอินเดีย โดยเฉพาะ ภาระตะวิทยาเขียนถึง เทพปกรนัมของพราหมณ์ และคัมภีร์ความเชื่อต่างๆในศาสนาฮินดู และทรงรับเอาต้นแบบความเชื่อนั้นมาศึกษาอีกด้วย
คราวประพาสมณฑลพายัพ ผ่านออกมาทางอุตรดิตถ์ ข้าราชบริพารต่างตื่นตะหนกเรื่องไข้ป่า แล้วพระองค์เชื่อและมีพระราชดำรัสว่า ธรรมดาเจ้าใหญ่นายโตจะเสด็จ ณ ที่แห่งใดๆ ก็ดี คงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจฤๅอสูร อันเป็นสัมมาทิฏฐิ คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวง มิให้มากล้ำกรายพระองค์และบริวารผู้โดยเสด็จได้ ถึงในการเสด็จครั้งนี้ก็มีเหมือนกัน อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดมีความวิตกไปเลย"
ด้วยพระกระแสพระราชดำรัส ทำให้เหล่าบริวารคลายความกังวลใจลงบ้าง แต่แล้วข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งฝันว่าเห็นบุรุษผู้หนึ่งร่างสูงใหญ่ล่ำสัน บอกนามว่า "หิรัญ" และแจ้งว่าตนเป็นอสูรแห่งป่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ จะคอยดูแลปกป้ององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และข้าราชบริพารในขณะเดินทาง
ขณะนั่นเองที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบและดำรัสว่า ตาหิรัญฮูคำว่า ฮู มาจากภาษาอังกฤษ Who แบบว่าใคร และทรงเรียกว่า ท้าวหิรัญฮูมานับแต่นั้น หลังจากนั้นพระองค์ ทรงให้ข้าราชบริวารตั้งเครื่องสังเวยในป่าริมพลับพลา และคราวใดที่เสวยพระกระยาหาร พระองค์ก็ส่งแบ่งพระกระยาหารเป็นเครื่องสังเวยทุกครั้งอย่างเสมอ
หลังจากข้าราชได้ตั้งสังเวย และอัญเชิญท้าวหิรัญ แล้วการเดินทางปลอดภัยดี ไม่มีใครเป็นไข้ป่าหรือเจ็บป่วยเลย และผู้คนมากมาย ทั้งข้าบริวารมักจะเห็นบุรุษร่างกายสูงใหญ่ น่าเกรงขาม ลักษณาการอย่างโบราณ แต่งกายแบบโบราณ ตามขบวนเสด็จมาด้วย นั่งบ้าง ยืนบ้าง ตามขบวนเสด็จไปด้วยเป็นอันมาก และคนที่มักพบเห็นต่างสงสัยว่าบุรุษผู้นั้นใครกัน ซึ่งด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดความเลื่อมใสขึ้นกับผู้พบเห็น คำว่า ท้าวหิรัญพนาสูรมาจาก หิรัญ” + “พนา” + “อสูรซึ่งคำว่า หิรัญแปลว่า เงิน หรือ สีเงิน มาจากภาษามคธ เหรญฺญิโกแปลว่า ผู้รักษาเงิน โดยพ้องกับในเรื่องรามายณะหรือรามเกียรติ์ หิรันต์ หิรันตยักษ์ หิรัณยากษะ แปลว่า อสูรที่มีในตาสีทอง ซึ่งทำให้บางตำรา กล่าวว่า หิรัญแปลว่า ทอง หรือ สีทอง
พนา แปลว่า ป่า อสูร คือ อมนุษย์ประเภทหนึ่ง อาจจะใช้เรียกยักษ์ เข่น เทพาอสูร เทวาอสูร พอรวมกับคำว่า พนาสูร แปลว่า อสูรผู้เป็ใหญ่แห่งป่า จึงมีการเรียกขานว่า ท้าวหิรัญพนาสูรในการอ่านออกเสียง หิ-รัน-ยะ-พะ-นา-สูร บางที่เขียนว่า "ท้าวหิรันยพนาสูร"
ครั้นข่าวได้ถูกล่ำลือไปถึงข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลต่างๆ เคารพท้าวหิรัญพนาสูรกันแต่ครั้งนั้น และโปรดให้หล่อรูปท่านท้าวประดิษฐานไว้ประจำพระราชวังพญาไท "รูปท้าวหิรัญพนาสูร" จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนเคารพกราบไหว้ให้ป้องกันภยันตราย ให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงระลึกถึง ท้าวหิรัญพนาสูร และพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปลอยองค์ขึ้น ๔ ตน ประดิษฐานไว้หน้ารถยนต์พระที่นั่ง ประดิษฐาน ณ ห้องบรรทม ประดิษฐาน ณ บ้านพระยาอนิรุทธเทวา และประดิษฐาน ณ หน้าพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ และทรงโปรดให้ตั้งเครื่องสังเวย บูชาเป็นประจำ ซึ่งกลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีการตั้งเครื่องถวายอยู่เช่นเดิมเหมือนแต่ก่อน
          รูปหล่อท้าวหิรัญพนาสูร มีการหล่อขึ้นในรัชกาลที่ ๖ ทั้งหมด ๔ รูป คือ รูปที่ ๑ เป็นทองสำริด หล่อครั้งแรกตามพระราชกระแสพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่บ้านพระยา อนิรุธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) รูปที่ ๒ อยู่ที่กองมหาดเล็กรับใช้ในพระบรมมหาราชวัง รูปที่ ๓ หล่อด้วยเงิน อยู่หมวดยานยนต์ เป็นรูปที่ติดหน้ารถพระที่นั่งรองยี่ห้อโอเปิล ตอนเดียว สีม่วงแก่ ซึ่งเป็นรถที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทรงขับเสด็จประพาสตอนเย็น และรูปที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อรูปท้าวหิรัญพนาสูร พระยาอาทรธุระศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร) ข้าราชการกรมศิลปากรออกแบบหล่อ รูปหล่อนี้ประดิษฐาน ณ สวนเสนารักษ์ พระราชวังพญาไท ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ณ ปัจจุบัน
รูปที่ ๑ เป็นทองริดสำ หล่อครั้งแรกตามพระราชกระแสพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่บ้านพระยา อนิรุธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ)

            รูปที่ ๒ อยู่ที่กองมหาดเล็กรับใช้ในพระบรมมหาราชวัง
            (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งราชกรัณยสภา ในพระบรมมหาราชวัง)

      รูปที่ ๓ รูปที่ติดหน้ารถพระที่นั่งรองในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 

                     รูปที่ ๔ ณ สวนเสนารักษ์ พระราชวังพญาไท
                        ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ณ ปัจจุบัน

โดยครั้งที่รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดให้สร้างรูปหล่อท้าวหิรัญพนาสูรนั้น มีท่าน จหมื่นเทพดรุณทร เล่าไว้ว่า เมื่อคราวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรัญพนาสูร ขึ้นนั้น โดยพระยาอาทรธรศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร) ดำเนินการจัดสร้าง มิสเตอร์แกลเลตตี ช่างชาวอิตาลีที่ทำงานในกรมศิลปากรเป็นผู้หล่อ เมื่อหล่อเสร็จแล้วช่างฝรั่งก็ใช้เชือกผูกคอชักรอกขึ้นไปประดิษฐาน ต่อมาเกิดล้มป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ คอเคล็ดทำงานไม่ได้ ต้องนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปกราบไหว้ขอขมาท้าวหิรัญพนาสูรจึงหายเป็นปกติอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้กลายเป็นที่โจษขานกันปากต่อปาก
กระทั่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต มีการเปลี่ยนวังพญาไทใช้ในเชิงพาณิชย์แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลทหารบกและเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ จึงขอพระราชทานนามว่า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าภายในประดิษฐาน ศาลท้าวหิรัญพนาสูรซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมใจผู้ป่วย ผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลจวบจนปัจจุบันนี้
ครั้งหนึ่งมีเชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่ง เกิดประชวรปัสสาวะเป็นเลือด ได้เสด็จมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แพทย์เอกซเรย์แจ้งว่าจะต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่พระญาติทราบประวัติและความศักดิ์สิทธิ์ของ ท้าวหิรัญพนาสูร เป็นอย่างดี จึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสักการะรูปหล่อภายในโรงพยาบาล ปรากฎว่าหายจากอาการประชวรอย่างเหลือเชื่อ โดยไม่ต้องผ่าตัดแต่อย่างใด
        ท้าวหิรัญพนาสูร จึงถือได้ว่าเป็นเทวาอสูรอารักษ์ขารัชกาลที่ ๖ เป็นเทวาอสูรที่ขจัดภยันตรายทั้งปวง ขจัดโรคภัยไขเจ็บต่าง ปกป้องคุ้มครอง ซึ่งปัจจุบัน รูปหล่อท้าวหิรัญพนาสูรทั้ง ๔ ตน โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และในพระบรมมหาราชวัง ยังมีการตั้งเครื่องสักการบูชา และเครื่องสังเวยมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้
        นอกจากที่มีการหล่อรูปลอยของท้าวหิรัญพนาสูร ๔ องค์ข้างต้นแล้ว ในสมัยต่อมาก็มีท้าวหิรัญพนาสูรอีกหนึ่งรูป องค์ที่เป็นพระราชมรดกในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอจะโปรดให้ข้าราชบริพารอัญเชิญท้าวหิรัญพนาสูรองค์นี้ตามพระองค์
     
           
 องค์ที่เป็นพระราชมรดกในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ    ข้าราชบริพารอัญเชิญท้าวหิรัญพนาสูรตามเสด็จ 
                                      สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ



ธรรมจิต สวัสดี ผู้เขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น