ประคำ (หมากนับ)

ประคำ (หมากนับ)
            ประคำ หรือ หมากนับ เป็นชื่อเครื่องมือเครื่องใช้ชนิดหนึ่งของนักพรต นักบวชหรือผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งใช้นับจำนวนคาบ จำนวนรอบ จำนวนครั้งของการเสกคาถา บริกรรมคาถา และในการสวดมนต์พิธีกรรม มีลักษณะเป็นเม็ดๆร้อยเป็นพวง มีจำนวนเม็ดแตกต่างกัน และใช้วัสดุชนิดต่างตั้งแต่หิน แร่ธาตุ ไม้ เมล็ดเม็ดพืช งาช้าง กระดูกสัตว์ เป็นต้น ขนาดจะเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตามที่ผู้ประดิษฐ์เห็นว่าสมควรและเมาะสมกับใช้ในงานประเภทไหน 

วัสดุที่ใช้ทำเป็นลูกหมากนับ
            ในล้านนาใช้วัสดุหลายชนิดมาทำเป็นเม็ดของลูกหมากนับ ถ้าแยกเป็นกลุ่มใหญ่ก็มีเพียง ๓ ประเภท คือประเภทเขาสัตว์ ประเภทเมล็ดผลไม้ และประเภทที่ผลิตขึ้นมาเองจากไม้หรือจากยาสมุนไพรบ้าง
            ประเภทเขาสัตว์ที่นำมากลึงให้เป็นเม็ดนั้น อาจได้จากเขาควาย เขาวัวป่า เขาวัวบ้าน เขากวาง เขาเยือง(เลียงผา) และงาช้าง เป็นต้น
                                                    ประคำงาช้าง
            ประเภทเม็ดในของพืชและผลไม้ เช่น หมากเดือยหิน หมากเดือยเพชร หมากเดือยสะเพา เมล็ดในของกล้วยป่า หมากดีควาย เม็ดหมากซัก(ประคำดีควาย) เม็ดบัว เม็ดพุทรา เม็ดของดอกบัวระวงษ์หรือพุทธรักษา เมล็ดรุทรักษะ เป็นต้น
                   ประคำเม็ดประคำดีควาย              ประคำรุทรักษะ
            ประเภทที่ทำขึ้นเอง เช่น จากไม้ ไม้ตะเคียน ไม้โพธิ์ ไม้สักทอง ไม้มะค่า ไม้พะยูง และจากยาสมุนไพร
                     ประคำไม้กฤษณา                        ประคำไม้งิ้วดำ
                                                       วิธีทำ
ถ้าเป็นประเภทเขาสัตว์หรืองาช้าง ใช้มีดหรือขวานผ่าตามยาวให้แตกออกเป็นกีบๆ แต่ละกีบใช้มีดปาดเป็นขั้นๆ ดูเหมือนกับเป็นเม็ดตัดๆกัน โดยยังไม่ต้องตัดให้แยกจากกันจนกว่าแต่ละเม็ดจะเกลี้ยงกลมแล้วจึงตัดออกแต่ละเม็ดแล้วจึงนำไปฝนกับหินให้ผิวเกลี้ยงเป็นเงางาม  ในการจู้ใช้เหล็กแหลมเผาไฟให้ร้อนแดง แล้วจี้ตรงกลางของเม็ดนั้นๆให้ทะลุ
            ถ้าเป็นเม็ดพืชหรือเม็ดผลไม้ ให้แกะออกจากเปลือก ล้างให้หมดจดแล้วผึ่งลมให้แห้ง เม็ดในของผลไม้หรือพืชถ้าถูกแดดมากจะเหี่ยวหรือแตกไม่สวยงาม ดังนั้นควรผึ่งในร่มให้ลมพัดแห้งจะดีกว่า การเจาะรู้ให้เหล็กแหลมค่อยๆหมุนให้ทะลุทีละเม็ดตามต้องการ
            ถ้าทำจากไม้ วิธีการทำเช่นเดียวกันกับประเภทที่ทำมาจากเขาสัตว์ การเจาะก็ใช้เหล็กเผาไฟให้แดงเจาะเข้าไปตรงกลาง เมื่อเจาะแล้วจึงนำมาร้อยเป็นพวง
            ถ้าจะทำเม็ดหมากนับด้วยยาสมุนไพรนั้น ก่อนอื่นควนเจียดยาสมุนไพร ซึ่งประกอบด้วยเปลือกมะกอก เปลือต้นหวีด โกฏหัวบัว โกฏพุงปลา ดีปลี เทียนดำ เทียนทั้ง ๕ จันทน์จี่ จันทน์บาน พริกไทย หัวข่า และขิง นำตัวยาดังกล่าวนี้ตากแดดให้แห้งกรอบแล้วนำไปชั่งให้ได้น้ำหนักเท่ากัน จากนั้นจึงใส่ครกบดให้ละเอียด เมื่อใช้ตะแกรงร่อนเอาตัวยาที่ละเอียดมาแล้วก็จะเอาข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วยุ่ยให้เป็นเม็ดตากแดดให้แห้ง นำไปคั่วไฟให้กรอบและเกรียมแล้วใส่ครกตำให้ละเอียด ร่อนให้ละเอียด นำผงสมุนไพรผสมกับผงข้าวเหนียวในปริมาณที่เท่ากันคือ ตัวยา ๑ ส่วน ใช้ข้าวเหนียว ๑ ส่วน ผสมเข้าด้วยกันแล้วแกะกระเทียมเอาแต่เนื้อในตำให้แหลกแล้วตักใส่ผงยา เอามหาหิงคุ์ ก้อนเล็กๆ ละลายเอาน้ำผสมคลุกเคล้ากับผงยาให้เข้ากัน จนปั้นได้เหมือนดินเหนียวแล้วจึงคลึงให้มีขนาดตามต้องการ แล้วใช้ไม้ไผ่เหลาให้เป็นเส้นเล็กเสียบเข้าตรงกลางเพื่อทำรูแล้วลงอักขระคาถาบนเม็ดยานั้น เมื่อเสร็จแล้วจึงถอดไม้ที่เสียบไว้ออกทำอย่างนี้ทุกเม็ด แล้วนำไปตากให้แห้ง
            ก่อนที่จะนำเอาลูกประคำมาลงอักขระ ให้ตั้งขั้นตั้งหรือจัดเครื่องคำนับครูเสียก่อน เครื่องขันตั้งที่ต้องแต่งดามีเงินจำนวน ๑,๐๐๐ ทองคำ ๑๐๐ ถ้าไม่มีทองคำก็ใช้นาก ๓๐๐ ผ้าขาว ๑ พับ ผ้าแดง ๑ พับ เบี้ย ๑๓๐๐ หมาก ๑๓๐๐ เทียนใหญ่ที่เรียกว่าเทียนแท่งละบาท ๑ คู่ เทียนเล็ก ๖ คู่ หมาก ๖ ขด ๖ ท่อน พลู ๑ แถว โดยเฉพาะให้ไปทำพิธีลงอักขระและร้อยลูกหมากนับในอุโบสถ
                  ประคำหยกขาว                                   ประคำหยกเขียว
เชือกร้อยหมากนั
            เชือกที่จะเอามาร้อยลูกหมากนับนั้น ถ้าใช้ด้ายก็ต้องเอาด้ายที่หญิงสาวพรหมจรรย์เป็นผู้ปั่น และจะต้องปั่นในขณะที่เกิดจันทรคราส นอกจากนี้จะใช้ผ้าฝ้าย ไหม ปอ ป่าน หรือเครือเถาวัลย์บางชนิดที่เหนียวๆก็ได้

คาถาที่ใช้จารลงบนลูกหมากนับ
            ลูกหมากนับทุกเม็ดต้องลงอักขระคาถาทุกเม็ด เม็ดละ ๑ บท หรือ ๑ คำ หรือ ๑ ตัว ตามแต่ตำราของแต่ละฉบับ คาถาที่ใช้นั้นบางตำราใช้ชื่อของพระพุทธเจ้า ๒๘ องค์ และชื่อพระสาวก ๘๐ องค์ รวมกันได้ ๑๐๘ ชื่อพระพุทธเจ้ามีดังนี้
๑. ตัณหังกระ             ๒. เมธังกระ ๓. สรณังกระ   ๔. ทีปังกระ
๕. โกณฑัญญะ          ๖. มังคละ       ๗. สุมนะ       ๘. เรวตะ
๙. โสภิตะ              ๑๐. อโนมทัสสี  ๑๑. ปทุมะ      ๑๒. นารทะ
๑๓. ปทุมุตตระ     ๑๔. สุเมธะ    ๑๕. สุชาตะ    ๑๖. ปิยทัสสี
๑๗. อัตถทัสสี      ๑๘. ธัมมทัสสี  ๑๙. สิทธัตถะ ๒๐. ติสสพุทธเจ้า
๒๑. ปุสสะ
            ๒๒. วิปัสสี        ๒๓. สิขี       ๒๔. เวสสภู
๒๕. กกุสันธะ       ๒๖. โกนาคมนะ  ๒๗. กัสสปะ ๒๘. โคตรมะ

๑.อัญญาโกณฑัญญะ ๒.วัปปะ ๓.ภิททิยะ ๔.มหานามะ ๕.อัสสชิ ๖.ยสะ
๗.วิมละ ๘.สุพาหุ ๙.ปุณณชิ ๑๐.ควัมปติ ๑๑.อุรุเวลกัสสปะ ๑๒.นทีกัสสปะ
๑๓.   คยากัสสปะ ๑๔. สารีบุตร ๑๕.   โมคคัลลานะ ๑๖.   มหากัสสปะ
๑๗.   มหากัจจายนะ ๑๘. อชิตะ ๑๙.   ติสสเมตเตยยะ ๒๐.   ปุณณกะ
๒๑.   เมตตคู ๒๒.   โธตกะ ๒๓.   อุปสีวะ ๒๔.   นันทะ ๒๕.   เหมกะ

๒๖.   โตเทยยะ ๒๗.   กัปปะ๒๘.   ชตุกัณณี ๒๙.   ภัทราวุธะ ๓๐.   อุทยะ
๓๑.   โปสาละ ๓๒.   โมฆราช  ๓๓.   ปิงคิยะ ๓๔.   ราธะ
๓๕.   ปุณณมันตานีบุตร ๓๖. กาฬุทายี ๓๗.นันทะ ๓๘.ราหุล ๓๙. อุบาลี
๔๐.   ภัททิยะ ๔๑.   อนุรุทธะ ๔๒.   อานนท์ ๔๓.   ภัคคุ ๔๔.   กิมพิละ
๔๕.   โสณโกฬิวิสะ ๔๖.   รัฏฐปาละ ๔๗.   ปิณโฑลภารทวาชะ
๔๘.   มหาปันถกะ ๔๙.   จูฬปันถกะ ๕๐.   โสณกุฏิกัณณะ
๕๑.   ลกุณฏกภัททิยะ ๕๒.   สุภูติ ๕๓.   กังขาเรวตะ ๕๔.   วักกลิ
๕๕.   กุณฑธานะ ๕๖.   วังคีสะ ๕๗.   ปิลินทวัจฉะ ๕๘.   กุมารกัสสปะ
๕๙.   มหาโกฏฐิตะ ๖๐.   โสภิตะ ๖๑.   นนทกะ ๖๒.   กัปปินะ
๖๓.   สาคตะ ๖๔.   อุปเสนะ ๖๕.   ขทิรวนิยเรวตะ ๖๖.   สีวลี
๖๗.   พาหิยทารุจิริยะ ๖๘.   พากุล ๖๙.   ทัพพมัลลบุตร ๗๐.   อุทายี
๗๑.   อุปวาณะ๗๒.   เมฆิยะ ๗๓.   นาคิตะ ๗๔.   จุนทะ ๗๕.   ยโสชะ
๗๖.   สภิยะ ๗๗.   เสละ ๗๘.   มหาปรันตปะ๗๙. นาลกะ ๘๐. องคุลิมาละ

                                ประคำเม็ดหวาย                               ประคำไม้จันทร์หอม

คาถาที่ใช้ลงลูกหมากนับอีกตำราหนึ่ง เรียกว่า ฉบับตัวเดียว
จ กา มา ทา อ เส สํ ตา ตํ ถุ เอ ยา ตํ ยํ ข ยํ เย เย ย โย
ส กึ ว ว ขิ ก ส น เย หิ น มา เม ติ ทิ ว อ มา ส อ
ก เอ เย อ เย อ ม ส ส อิ สวา สุ เอ วิ น จ ตา อํ เย ตํ
โก โส บ อ จุ ก เอ ส สิ อุ พ ยา ม ทิ ส ว ส เต บุ ท
บ อุ บุ ว อ ยํ ส ส อ ย โพ พ ส สํ เอ ค เอ ส ยิ ทุ เอ ทา ส ช อ สุ บ เต

                                                               ประคำเม็ดลาน

คาถาจารลงลูกหมากนับอีกตำราหนึ่ง เรียกว่า ฉบับรอม

นโมอ / พุทธบ / ตัพพา / อิติมา / บิโสทา / ภควาอ
 / อรหํตา / สัมมาข / สัมพุทโธต / วิชชาผุ / / ๑๐
จรณํเอ / สัมปันโนย / สุคโตต / โลกยํ / วิทุข / อนุตตโรย
 / ปุริสเย / ธัมมเย / สารถีติย / สัตถาย / / ๒๐
เทวส / มนุสานํกึ / พุทโธว / ภควาติว / ออาขิ / อิอก
 / อุโอส / เอโอน / โอโอเย / อิอทิ / / ๓๐
สวาขาโตน / ภคมา / วตเม / ธัมโมติ / สันทิติ / ถิโกวิ / อกาย
/ ลิโกมา / เอทิส / ปสุสิโภอ / / ๔๐
โอปนกายิโก / ปัจจัตตํเวเย / ทิตพโพย / วิญูหิติเย / กขคฆงอ
/ จสชวยมา / ฏฐฑฒณส / ตถทธนส /บผพภมมยิ / ญรลวสหฬอํสวา / / ๕๐
สุปฏิปันโนสุ / ภคเอ / วโตวิ / สาวกเว / สังโฆโต / อุชุอํ / ปฏิเย
 / ปันโนทิ /ภคตํ / วโต / / ๖๐
สาวกสํโส / สังโฆ / ยายอ / ปฏิผุ / ปันโนก / ภคเอ /วโตส
 / สาวกสิ / สังโฆอุ / สามีจิตพยา / / ๗๐
ปฏิม / ปันโนทิ / ภคส / วโตว / สาวกส / สังโฆส / อาหุเต
/ นัยโยผุ / บาหุท / นัยโยบ / / ๘๐
ทักขิอุ / นัยโยบุ / อัลชลิจ / กรณีโยอ / อนุตตรํยํ / ปุริส / เขตตัส
/ โลกอ / สาติย / มออุโพ / / ๙๐
อุอมส / อสิสํ / สติเอ / ธนุเย / เจวเอ / สัพเพเต / อาวุทธาบ / ปัจจํยํ
/ ภคทุ / กาคาเอ / / ๑๐๐
วิจุนานิทา / โลมํส / มาเมช / ปสันติติอ / พุทธํสุ / ธัมมํบ / สังฆํเย / สันตํ / / ๑๐๘
ประคำเหล็กไหล

คาถาจารลงบนลูกหมากนับอีกตำราหนึ่ง เรียกว่า ฉบับสูน
พุทธํสรณํคัจฉามิ / ธัมมํสรณํคัจฉามิ / สังฆํสรณํคัจฉามิ / นโมพุทธาย / นโมธัมมาย / นโมสังฆาย / ยทาพุโมน / สวาย / สวาย / สติเม / อสํวิสุโร / บุสพุภ / กรมถ / จิเจรุนิ / สํวิธาท / บุกยบ / อาบามจุบ / ทิบุสํอํขุ / นมนอ / นกนก / นอนอ / นอกอํ / นมกุธ / ทุสมนิ / นิสมทุ / บทาสุอุชา / อิสมนิ / พุทธสํอิ / พุทธสํมิ / เนหกัณห /  ริรมชาทํ / จภกส / ภกสจ / กสภจ / สภจก / อรหํอ / สุคโตภควา / อิกวิติ / สบุเยห / อิอสวิ / สบบุจ / บยสถา / สบุบา / หารํ / สรณํอิติ / นกาโล / พุโธ / ภควา  / กรเภท / ธกัน / นเมวจ / ยถาโลพุโธ / ภควา / ตรเภทธกัน / กายเจว / อมอย / สมานโส / โสมานส / อนติ / อสทํ / สรณํ / อสัตต / นกอิ / อิวว / มอิกน / อุมิอมิ / จมหิสุตํ / สุนพุทธํ / อนุสุนอ / อิติมลิ / อุโออํอุ /  อิภอตัสส / ออุอิกติ / พุทโธภควา / กยนอส / กสนย / วิเวสุทว / นพุธผัสผิส / อิติสาคุ / สาคุอิติ / อิสวาสุ / กุรน / กุรํนํ / อนอน / นอนิ / กกากุกุ / กาก / อํลอํฬอํ / อิสวาสุ / สุสวาอิ / อิสุสออิวา / นมออุ / มออุน / ออุนม / อุนมอ / อวสธพุทโธโคงอ / พุทธํสุนธัมโมโคงอ / ธัมมํสุนสังโฆโคงน/ ๑๐๘

ส่วนหัวของหมากนับ
            ระหว่างรอยต่อของเม็ดที่ ๑ กับเม็ดที่ ๑๐๘ ตรงรอยต่อของเชือกที่ร้อยเม็ดหมากนับนั้นยังมีหัว ซึ่งมีเม็ดหมากนับ ๓ เม็ด เพื่อให้รู้ถึงจุกเริ่มต้น และจุดสุดท้ายในเวลาที่นับเม็ดที่ ๑ มีขนาดเล็กเท่ากับเม็ดอื่นๆ แต่เม็ดที่ ๒ จะมีขนาดใหญ่กว่าทุกเม็ด เม็ดที่ใช้ทำหัวมีคาถาลงอักขระอีกต่างหากด้วย

คาถาสำหรับจารลงบนเม็ดหัวที่มี ขนาดเล็กมีดังนี้
                อัฏฐวีสติเม พุทเธ อหังวันทา มิสัพพทา เตสังยาเยน สีเลน ขันติ เมตตาพาเลนจ เตปิมังอนุรักขันตุ อโรคเยน สุเขนจ เตปิมังอนุรักขันตุ อโรคยานสุเขนจ พุทธาอนุนาน มริยา สุสังขัยโย พุทธาอนอนาน สุหรา วิสังขัยโย พุทธาริโย เฆมกุ รักขกัปปาเก
คาถาสำหรับจารลงบนเม็ดหัวที่มี ขนาดกลางมีดังนี้
สัมพุทเธอัฏฐวีสัญจ ทวาทสัญจ สหัสสเก ปัญจสหตสหัสสานิ  สัมพุทเธสปัญจสตุวีสสหัสสเก  ทังสสตสหัสสานิ สัมพุทเธทวาทส สตัญจ อัฏฐจัตตาริ สสหัสสเก  ทริทสตสหัสสานิ นมามิสิรสา มัยหัง เตสังธัมมัญจ สังฆัญจ อาทเรนนมามิหัง นมการานุภาเวน หันตวา สัพเพอุปัทเว อเนกา อันตรายา ปิวินาสันตุ อเสสโต

คาถาลงเม็ดที่มีขนาดใหญ่ ชื่อว่าคาถา โสฬสชาติมีดังนี้
โสฬสบล มังโกญจ นวหังสาตเถวจ บาเรวัฏฏา สกัญเจว ตริกา สุวเมวจ ปัญจก รวิกัญเจว จตุกินรเมวจ ปัญจทสา จามริ จามก ฏาทส เมวจ เอกทสาจ หัตถีญจตุทสาจอุ สาภาเอกัง สินธุวาร เญจว มหิงสา อฐเมวจ มยุราจัมมกิญจ วสาลิกา สัตตเมวจ ทวาทส สกกกุฏเญจ วกลิทสาจ สกราสัตติง สสกชากา นิมุตติจ วันติหนัง โตตัตเถวมัง สุกขุปัตโต สัพพอันตรายา ปิวินาสันตุ อเสสโต

วิธีใช้หมากนับ
            สมัยบารณเก่าก่อนคงทำลูกหมากนับด้วยเม็ดในของผลไม้ทั่วไป เช่น ลูกหมากซัก ลูกเดือยหิน เป็นต้น
การทำคงไม่ยาก เจาะรูแล้วร้อยด้วยเชือก การใช้ลูกหมากนับในสมัยโบราณ เพื่อเป็นการกำหนดจำนวนคำหรือบทที่ท่องในใจสำหรับผู้ที่เป็นนักกรรมฐาน หมากนับเป็นเหมือนดั่งเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งเลยทีเดียว
            ต่อมามีคนคิดทำลูกหมากนับให้ใช้ประโยชน์ได้หลายๆอย่าง เช่น ป้องกันภูตผีปีศาจในป่าในเขาที่เดินทางไป เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์บกสัตว์น้ำ เพื่อป้องกันสัตว์ที่มีพิษอย่างพวกงู พวกตะขาบ เพื่อเป็นยารักษาโรคในคราวที่จำเป็น จึงได้มีการลงอักขระคาถาต่างๆ ลงบนเม็ดของลูกหมากนับด้วย
            ปัจจุบันคนทั่วไปรู้จักหมากนับในด้านความศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่ทำให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย เป็นสิ่งที่ทำให้อยู่ยงคงกระพัน เป็นส่งที่ทำให้มีคนรักคนชอบ ดังนั้นจึงเห็นคนหนุ่มสาวแสวงหาประคำเพื่อการนี้ จึงได้ซื้อหามาด้วยเงินที่แพงพอสมควร ยิ่งถ้าเป็นของหลวงพ่อหลวงปู่ที่มีชื่อเสียงแล้วก็ยิ่งมีราคาแพงและหายาก ทำให้พระที่มีไว้สำหรับฝึกกรรมฐานไม่มีลูกประคำใช้ เพราะชาวบ้านพากันไปขอและบูชาเสียหมด

ประคำ ๙ เม็ด เรียกว่า ประคำนวหรคุณ  ใช้บทนวหรคุณ หรือพุทธคุณ ๙ อักขระ ลงจารบนประคำและใช้เป็นคาถากำกับ
อ สํ วิ สุ โล ปุ ส พุ ภ


ประคำ ๑๔ เม็ด เรียกว่า ประคำสังฆคุณ  ใช้บทสังฆคุณ ๑๔ อักขระ ลงจารบนประคำและใช้เป็นคาถากำกับ
สุ ป ฏิ ปัน โน ภะ คะ วะ โต สา วะ กะ สัง โฆ
ประคำ ๑๖ เม็ด เรียกว่า ประคำพระเจ้า ๑๖ พระองค์ ใช้บทพระเจ้า ๑๖ อักขระ ลงจารบนประคำและใช้เป็นคาถากำกับ
นะมะ นะอะ นอกอ นะกะ กอออ นออะ นะอะ กะอัง
อุมิ อะมิ มะหิ สุตัง สุนะ พุทธัง สุอะ นะอะ

ประคำ ๒๘ เม็ด เรียกว่า ประคำพระเจ้า ๒๘ พระองค์ ใช้บทพระเจ้า ๒๘ อักขระ ลงจารบนประคำและใช้เป็นคาถากำกับ
ตัง เม สะ ทิ โก มัง สุ เร โส อะ ปะ นา ปะ สุ สุ ปิ อะ ทะ สิ ติ ปุ วิ สิ เว กุ โก กะ โค

ประคำ ๓๘ เม็ด เรียกว่า ประคำธรรมคุณ ใช้บทธรรมคุณ ๓๘ อักขระ ลงจารบนประคำและใช้เป็นคาถากำกับ
สะ . หวาก . ขา . โต . ภะ . คะ . วะ . ตา . ธัม . โม . สัน . ทิฏฺ . ฐิ . โก
อะ . กา . ลิ . โก . เอ . หิ . ปัส . สิ . โก . โอ . ปะ . นะ . ยิ . โก
ปัจ . จัต . ตัง . เว . ทิ . ตัพ . โพ . วิญ . ญู . ฮี . ติ

ประคำ ๕๖ เม็ด เรียกว่า ประคำพุทธคุณ ใช้บทพระพุทธคุณ ๕๖ อักขระ ลงจารบนประคำและใช้เป็นคาถากำกับ
อิ . ติ . ปิ . โส . ภะ . คะ . วา
อะ . ระ . หัง . สัม . มา . สัม . พุท
โธ . วิช . ชา . จะ . ระ . ณะ . สัม
ปัน . โน . สุ . คุ . โต . โล . กะ
วิ . ทู . อะ . นุต . ตะ . โร . ปุ
ริ . สะ . ธัม . มะ . สา . ระ . ถิ
สัต . ถา . เท . วะ . มะ . นุส . สา
นัง . พุท . โธ . ภะ . คะ . วา .ติ

ประคำ ๑๐๘ เม็ด คือ รวมพุทธคุณ ๕๖ ธรรมคุณ ๓๘ และสังฆคุณ ๑๔ ได้ ๑๐๘ พอดี
อิ . ติ . ปิ . โส . ภะ . คะ . วา . อะ . ระ . หัง . สัม . มา . สัม . พุท . โธ . วิช . ชา . จะ . ระ . ณะ . สัม . ปัน . โน . สุ . คุ . โต . โล . กะ . วิ . ทู . อะ . นุต . ตะ . โร . ปุ . ริ . สะ . ธัม . มะ . สา . ระ . ถิ . สัต . ถา . เท . วะ . มะ . นุส . สา . นัง . พุท . โธ . ภะ . คะ . วา .ติ


ประคำ ๕๐๐ เม็ด เรียกว่า ประคำพระพุทธเจ้า ๕๐๐ ชาติ

ประคำ ๑๐๐๐ เม็ด เรียกว่า ประคำพระพุทธเจ้า ๑๐๐๐ พระองค์

๙ มหาเวทย์

2 ความคิดเห็น: